Page 11 - 012สังคมศึกษา-สค21001
P. 11

3


               เรื่องที่ 1 ลักษณะทางภูมิศาสตรกายภาพของประเทศในทวีปเอเชีย


                       1.1  ที่ตั้งและอาณาเขต ทวีปเอเชียเปนทวีปที่มีขนาดใหญที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 44,648,953
               ลานตารางกิโลเมตร มีดินแดนที่ตอเนื่องกับทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา แผนดินของทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย

               ที่ตอเนื่องกัน เรียกรวมวา ยูเรเชีย พื้นที่สวนใหญอยูเหนือเสนศูนยสูตรมีทําเลที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร คือ
               จากละติจูด  11  องศาใต  ถึงละติจูด  77  องศา  41  ลิปดาเหนือ  บริเวณแหลมเชลยูสกิน  (Chelyuskin)

               สหพันธรัฐรัสเซีย และจากลองจิจูดที่ 26 องศา 04 ลิปดาตะวันออก บริเวณแหลมบาบา (Baba) ประเทศตุรกี

               ถึงลองจิจูด 169 องศา 30 ลิปดาตะวันตก ที่บริเวณแหลมเดชเนฟ (Dezhnev) สหพันธรัฐรัสเซีย โดยมีอาณา-
               เขตติดตอกับดินแดนตาง ๆ ดังตอไปนี้

                       ทิศเหนือ จรดมหาสมุทรอารกติก มีแหลมเชลยูสกินของสหพันธรัฐรัสเซียเปนแผนดินอยูเหนือสุด

               ที่ละติจูด 77 องศาเหนือ
                       ทิศใต จรดมหาสมุทรอินเดีย มีเกาะโรติ (Roti) ของติมอร-เลสเต เปนดินแดนอยูใตที่สุดที่ละติจูด 11

               องศาใต

                       ทิศตะวันออก จรดมหาสมุทรแปซิฟก มีแหลมเดชเนฟของสหพันธรัฐรัสเซียเปนแผนดินอยูตะวันออก
               ที่สุด ที่ลองจิจูด 170 องศาตะวันตก

                       ทิศตะวันตก จรดทะเลเมดิเตอรเรเนียนและทะเลดํา มีทิวเขาอูราลกั้นดินแดนกับทวีปยุโรป และมี
               ทะเลแดงกับคาบสมุทรไซไน  (Sinai)  กั้นดินแดนกับทวีปแอฟริกา มีแหลมบาบาของตุรกีเปนแผนดิน

               อยูตะวันตกสุด ที่ลองจิจูด 26 องศาตะวันออก

                       1.2  ลักษณะภูมิประเทศ  ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศแตกตางกันหลายชนิดในสวนที่เปน

               ภาคพื้นทวีป แบงออกเปนเขตตาง ๆ ได 5 เขต คือ

                          1) เขตที่ราบต่ําตอนเหนือ เขตที่ราบต่ําตอนเหนือ ไดแก ดินแดนที่อยูทางตอนเหนือของทวีปเอเชีย
               ในเขตไซบีเรีย  สวนใหญอยูในเขตโครงสรางแบบหินเกา ที่เรียกวา แองการาชีลด  มีลักษณะภูมิประเทศ

               เปนที่ราบขนาดใหญ มีแมน้ําออบ แมน้ําเยนิเซและแมน้ําลีนาไหลผาน บริเวณนี้มีอาณาเขตกวางขวางมาก
               แตไมคอยมีผูคนอาศัยอยู  ถึงแมวาจะเปนที่ราบ  เพราะเนื่องจากมีภูมิอากาศหนาวเย็นมากและทําการ

               เพาะปลูกไมได

                          2) เขตที่ราบลุมแมน้ํา  เขตที่ราบลุมแมน้ํา  ไดแก  ดินแดนแถบลุมแมน้ําตาง ๆ  ซึ่งมีลักษณะ
               ภูมิประเทศเปนที่ราบและมักมีดินอุดมสมบูรณเหมาะแกการเพาะปลูก สวนใหญอยูทางเอเชียตะวันออก เอเชียใต

               และเอเชียตะวันออกเฉียงใต ไดแก ที่ราบลุมฮวงโห ที่ราบลุมแมน้ําแยงซีเกียงในประเทศจีน ที่ราบลุมแมน้ําสินธุ

               ที่ราบลุมแมน้ําคงคาและที่ราบลุมแมน้ําพรหมบุตรในประเทศปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ ที่ราบลุม
               แมน้ําไทกริส  ที่ราบลุมแมน้ํายูเฟรทีสในประเทศอิรัก  ที่ราบลุมแมน้ําโขงตอนลางในประเทศกัมพูชาและ

               เวียดนาม ที่ราบลุมแมน้ําแดงในประเทศเวียดนาม ที่ราบลุมแมน้ําเจาพระยาในประเทศไทย ที่ราบลุมแมน้ํา
               สาละวินตอนลาง ที่ราบลุมแมน้ําอิระวดีในประเทศสาธารณรัฐแหงสหภาพพมา
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16