Page 13 - sittichok
P. 13
9. ผู้สอนประจําวิชาประเมินผลการเรียน (ให้เกรด)
การคิดและเลือกหัวเรื่องโครงการ
ผู้เรียนจะต้องคิดและเลือกหัวเรื่องโครงการด้วยตนเองว่าอยากจะประดิษฐ์อะไร " จะ
ประดิษฐ์ หัวเรื่องโครงการมักจะได้มาจากปัญหา คําถาม หรือความอยากรู้อยากเป เรื่อง
ต่าง ๆ ของผู้เรียนเอง หัวเรื่องโครงการควรเฉพาะเจาะจงและชัดเจน เมื่อใครได้อ่านแล้ว
ควรเข้าใจและรู้เรื่องว่า โครงการนี้ทําอะไร การกําหนดหัวเรื่องโครงการนั้น มีแหล่งที่จะ
ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดและสนใจจา การไปเยี่ยม
คิดความคิดและสนใจจากหลายแหล่งด้วยกัน เช่น จากการอ่านหนังสือ เอกสาร บทความ
เยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ การฟังบรรยายวิชาการ การเข้าชมนิทรรศการ หรือการประกวด
โครงการวิทยาศาสตร์ การสนทนากับบุคคลต่าง ๆ หรือการสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ
รอบตัว ภูมิปัญญาท้องถิ่น งานเซรามิคแฟร์ งานรถม้ารถไฟลําปาง เป็นต้น นอกจากนี้ ควร
คํานึงถึงในเรื่อง ต่อไปนี้
* ความเหมาะสมของระดับความรู้และความสามารถของผู้เรียน
* วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้
* งบประมาณ
* ระยะเวลา
*ความปลอดภัย
*แหล่งความรู้
1. การวางแผน
การวางแผนการทําโครงการ จะรวมถึงการเขียนเค้าโครงของโครงการ ซึ่งต้องมีการ
วางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การดําเนินการเป็นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบ ไม่สับสน แล้ว
นําเสนอ ต่อผู้สอนหรือผู้สอนที่ปรึกษา เพื่อขอความเห็นชอบก่อนดําเนินการต่อไป
การเขียนเค้าโครงของโครงการ โดยทั่วไปเขียนเพื่อแสดงแนวคิด แผนงาน และ ขั้นตอน
การทําโครงการ ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
1. ชื่อโครงการ ควรเป็นหัวข้อที่กะทัดรัด ชัดเจน สื่อความหมายได้
2. ชื่อผู้ทําโครงการ ชั้น ปีการศึกษา
3. ชื่อผู้สอนที่ปรึกษาโครงการ
4.หลักการและเหตุผลของโครงการ เป็นการอธิบายว่าเหตุผลใดจึงเลือกทําโครงการ
อย่างไร มีหลักการหรือทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้อง เรื่องที่ทําเป็นเรื่องใหม่ หรือมีผู้อื่นได้
7