Page 93 - sittichok
P. 93

หน่วยที่ 6


            การจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร


            บทน า

                      เมื่อมีการคิดที่จะท าการสิ่งใดจะต้องมีการให้แนวคิดกับผู้ปฏิบัติงานก่อนลงมือ

            ปฏิบัติ โครงการที่จะได้ รับการอนุมัติจะต้องมีความสมเหตุสมผล เมื่อพิจารณาแล้วสามารถ
            ปฏิบัติงานจริงได้ จะต้องมีการน า องค์ประกอบของการเขียนโครงการมาใช้อย่างครบถ้วน
            เพื่อความเข้าใจอย่างชัดเจนของผู้อนุมัติหรือผู้ที่ เกี่ยวข้องกับโครงการ


            การจดสิทธิบัตร

            สิทธิบัตร เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่อยู่ใกล้ตัวทุกคนมากที่สุด หรืออาจจะ กล่าว

            ได้ว่า สิทธิบัตรเกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันของทุก ๆ คน คือ สิ่งของหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ ใน
            ชีวิตประจําวันล้วนแล้วแต่เป็นผลที่ได้จากการประดิษฐ์คิดค้นทั้งสิ้น


            1. สิทธิบัตรคืออะไร

              สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสําคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น หรือ การ
            ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกําหนด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สิทธิบัตร

            หมายถึง สิทธิพิเศษที่ถูกกฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิ มีสิทธิเด็ดขาด หรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว
            ในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้น

            เช่น การผลิตและจําหน่าย เป็นต้น และสิทธิที่ว่านี้จะมีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาที่จํากัดช่วงหนึ่ง
            เท่านั้น


              การประดิษฐ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือ
            กลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของ
            ผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทําให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม


            2. ผลที่ได้จากสิทธิบัตร

              2.1 ในด้านของประชาชน


            โดยทั่วไป สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มีผลจากการประดิษฐ์คิดค้น หรือการออกแบบ ผลิตภัณฑ์
            ซึ่งก็คือสิทธิบัตรนั่นเอง นอกจากจะก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่อํานวย













                                                     86
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98