Page 60 - หลักการตลาด
P. 60

รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income)


                       หมายถึง รายได้ทั้งหมดที่ครัวเรือนได้รับจากแหล่งต่างๆ ในรอบปี ซึ่งบางส่วนเป็นผลตอบแทน
        จากการผลิตหรือมีส่วนร่วมในการผลิตและบางส่วนได้รับในรูปของเงินโอน รายได้ส่วนบุคคลจะคิดเฉพาะรายได้
        และเงินโอนที่ครัวเรือนได้รับเท่านั้น

                       รายได้ส่วนบุคคล =รายได้ประชาชาติ – รายได้ที่ไม่ตกถึงครัวเรือน + เงินโอน


        รายได้สุทธิส่วนบุคคล (Disposable Personal Income)



                       หมายถึง รายได้ส่วนบุคคลหลังจากที่ครัวเรือนจ่ายพันธะผูกพันต่างๆ ได้แก่ ภาษีทางตรง เงินโอน

        ให้รัฐบาล และเงินจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมแล้ว รายได้ส่วนที่เหลือเป็นรายได้สุทธิส่วนบุคคลที่ประชาชน
        (ครัวเรือน) สามารถน าไปใช้จ่ายในด้านต่างๆ ได้ เช่น บริโภค ช าระค่าดอกเบี้ยหนี้บริโภค เงินโอนให้ต่างประเทศ

        และเงินออมส่วนบุคคล (personal savings)
             รายได้สุทธิส่วนบุคคล = รายได้ส่วนบุคคล - ภาษีทางตรง (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)
                                         - พันธะผูกพันอื่น ๆ

        ประโยชน์ของตัวเลขผลิตภัณฑ์



        ตัวเลขผลิตภัณฑ์มีประโยชน์ส าคัญที่สามารถน าไปใช้วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคได้ดังนี้
                       1. เป็นเครื่องชี้กิจกรรมเศรษฐกิจมหภาค ตัวเลขผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องชี้กิจกรรมเศรษฐกิจมหภาค
        ด้านต่างๆ เช่น กิจกรรมเศรษฐกิจด้านการผลิต ด้านรายจ่าย เป็นต้น นักเศรษฐกิจ ผู้บริหารประเทศ นักธุรกิจ และ

        ประชาชนทั่วไปจะทราบได้ว่า ในปีนั้นประเทศสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้เป็นมูลค่าเท่าใด การใช้จ่ายของหน่วย
        เศรษฐกิจต่างๆ และใช้ประโยชน์ในการวางแผนและนโยบายของภาครัฐและเอกชน

                       2. เป็นเครื่องชี้การเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะสั้น ตัวเลขผลิตภัณฑ์จะแสดง
        ถึงการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะสั้น ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิต การใช้จ่าย
        และรายได้ ความผันผวนของปัจจัยดังกล่าวจะแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ความผันผวน

        ดังกล่าวอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ปัจจัยทางภูมิอากาศ เป็นต้น
                       3. เป็นเครื่องเปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ ตัวเลขผลิตภัณฑ์เป็นเครื่อง

        เปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศซึ่งอาจใช้เปรียบเทียบในระยะเวลาที่ต่างกันหรือใช้เปรียบเทียบฐานะ
        เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในกรณีเปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปีใดปีหนึ่งจะใช้มูลค่า GDP
        เฉลี่ยต่อประชากรเพื่อขจัดความแตกต่างของจ านวนประชากรในแต่ละประเทศ แต่ในการเปรียบเทียบฐานะ

        เศรษฐกิจระหว่างประเทศอาจมีจุดอ่อนเนื่องจากการวัดค่า GDP ของแต่ละประเทศมีรายละเอียดปลีกย่อยที่
        ต่างกัน ท าให้แม้จะผลิตสินค้าและบริการได้ในปริมาณเท่ากันแต่ค่า GDP กลับมีมูลค่าต่างกัน

                       4. เป็นเป้าหมายในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ตัวเลขผลิตภัณฑ์เป็นเป้าหมายในการวางแผน
        พัฒนาเศรษฐกิจในระยะเวลาหนึ่งๆ ผู้วางแผนจะก าหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจและ
        สังคมไว้และภาครัฐต้องพยายามเร่งรัดให้การเศรษฐกิจด าเนินไปในทิศทางที่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ในกรณีที่

        เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงแตกต่างไปจากเป้าหมายจะหาแนวทางในการแก้ไขต่อไป
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65