Page 12 - การแตงกายภาคกลาง_Neat
P. 12
แตนท์ (RajPattern) ซึ่งต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “เสื้อราชปะแตน” ซึ่งแปลว่า “แบบหลวง” แต่
ยังคงนุ่งผ้าม่วงสีกรมท่าเหมือนเดิม ในสมัยนี้ นิยมสวมหมวกแบบยุโรปหรือหมวกหางนกยูง
ถือไม้เท้า ซึ่งมักจะใช้คล้องแขนจึงเรียกว่า “ไม้ถือ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ทหารนุ่งกางเกงขายาวแทนผ้าม่วงโจงกระเบนสีกรมท่า เป็นผลให้
ประชาชนเริ่มนิยมนุ่งกางเกงขายาวและสวมหมวกกะโล่กันขึ้นบ้างในตอนปลายรัชกาล
การแต่งกายของชายทั่วไป ยังคงนิยมแต่งกายตามสบายเช่นเดียวกับสมัยรัชกาลก่อน ๆ
คือ นุ่งผ้าลอยชาย มีผ้าขาวม้าหรือผ้าอะไรก็ได้แต่ะบ่าคลุมไหลหรือคาดพุง ซึ่งคงจะเป็น
ประเพณีการแต่งกายของคนไทยตามปกติมาแต่โบราณและคาดพุง ไม่นิยมใช้ผ้าแตะบ่า การนุ่ง
ลอยชาย คือ การเอาผ้าทั้งผืนนั้นมาโอบหลังกะให้ชายผ้าข้างหน้าเท่ากัน แล้วขมวดชายพก
ค่อนข้างใหญ่เหน็บแน่นติดตัว แล้วทิ้งชายห้อยลงไปข้างหน้า การนุ่งผ้าลอยชายนี้ บางคนชอบ
นุ่งใต้สะดือ ชายพกที่ค่อนข้างใหญ่นี้เพื่อเก็บกล่องหรือหีบบุหรี่ที่ตนชอบ ส่วนผ้าคาดพุงไม่ว่า
จะเป็นผ้าขาวม้าหรือผ้าส่านหรือผ้าอะไรผูกเป็นโบเงื่อนกระทก ไว้ข้างหน้า ทิ้งชายผ้าลงมา
เล็กน้อย
การแต่งกายแต่ละสมัยของภาคกลาง
ารแต่งกายของผู้หญิง: ผู้หญิงจะนุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง ตัดผมไว้ปีกประบ่า กันไรผมวงหน้าโค้ง
หากเป็นชาวบ้านอาจนุ่งผ้าถุงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ห่มตะเบงมาน หรือ
ผ้าแถบคาดรัดอก แล้วห่มสไบเฉียง