Page 21 - การแตงกายภาคกลาง_Neat
P. 21

เครื่อง  แต่งกายของชายไทยในสมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้  ได้

               ปรับปรุงตามแบบประเพณีนิยมสากลของชาวตะวันตกเป็นครั้งแรก  แต่หลังจากเสด็จประพาส

               อินเดีย-พม่า  ในปี  พ.ศ.2414 แล้ว  มีพระราชด าริว่า  การสวมเสื้อนอกแบบฝรั่งซึ่งต้องมีเสื้อเชิ้ต

               สวมข้างในแล้วยัง  มีผ้าผูกคออีกด้วยนั้น  ไม่เหมาะสมกับอากาศร้อนของเมืองไทย  จึงโปรดให้

               ดัดแปลงเป็นเสื้อนอกสีขาวคอปิดติดกระดุมตลอดอก 5 เม็ด  เรียกว่า “เสื้อราชแปตแตนท์  ซึ่ง

               ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “เสื้อราชปะแตน” ซึ่งแปลว่า “แบบหลวง” แต่ยังคงนุ่งผ้าม่วงสีกรมท่า

               เหมือนเดิม  ในสมัยนี้  นิยมสวมหมวกแบบยุโรปหรือหมวกหางนกยูง  ถือไม้เท้า  ซึ่งมักจะใช้

               คล้องแขนจึงเรียกว่า “ไม้ถือ” ต่อมาในปี  พ.ศ. 2439 พระ  บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

               โปรดให้ทหารนุ่งกางเกงขายาวแทนผ้าม่วง  โจงกระเบนสีกรมท่า  เป็นผลให้ประชาชนเริ่มนิยม

               นุ่งกางเกงขายาวและสวมหมวกกะโล่กันขึ้นบ้างในตอน ปลายรัชกาล

                          การ แต่งกายของชายทั่วไป ยังคงนิยมแต่งกายตามสบายเช่นเดียวกับสมัยรัชกาลก่อน ๆ

               คือ  นุ่งผ้าลอยชาย  มีผ้าขาวม้าหรือผ้าอะไรก็ได้แต่ะบ่าคลุมไหลหรือคาดพุง  ซึ่งคงจะเป็น

               ประเพณีการแต่งกายของคนไทยตามปกติมาแต่โบราณและคาดพุง  ไม่นิยมใช้ผ้าแตะบ่า  การนุ่ง

               ลอยชาย  คือ  การเอาผ้าทั้งผืนนั้นมาโอบหลังกะให้ชายผ้าข้างหน้าเท่ากัน  แล้วขมวดชายพก

               ค่อนข้างใหญ่เหน็บแน่นติดตัว  แล้วทิ้งชายห้อยลงไปข้างหน้า  การนุ่งผ้าลอยชายนี้  บางคนชอบ

               นุ่งใต้สะดือ  ชายพกที่ค่อนข้างใหญ่นี้เพื่อเก็บกล่องหรือหีบบุหรี่ที่ตนชอบ  ส่วนผ้าคาดพุงไม่ว่า


               จะเป็นผ้าขาวม้าหรือผ้าส่านหรือผ้าอะไรผูกเป็นโบเงื่อน  กระทก  ไว้ข้างหน้า  ทิ้งชายผ้าลงมา
               เล็กน้อย
   16   17   18   19   20   21   22   23