Page 7 - E-Book คู่มือการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส
P. 7
คู่มือและแนวทางการปฏิบัติการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสำาหรับคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
1. ความเป็นมา
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกำาเนิดอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
ข้อ 31 กำาหนดให้การเป็นประธานอาเซียน (ASEAN Chairmanship) หมุนเวียนทุกปี
ตามลำาดับอักษรของชื่อภาษาอังกฤษของประเทศสมาชิก สำาหรับประเทศไทยดำารงตำาแหน่ง
ประธานอาเซียนครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2551-2552 และจะครบวาระในการดำารงตำาแหน่ง
ประธานอาเซียนอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2562
นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียน ข้อ 9 กำาหนดให้คณะมนตรีประชาคมอาเซียน
ประกอบด้วย คณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน คณะมนตรี
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
และให้คณะมนตรีประชาคมอาเซียนแต่ละคณะประชุมกันอย่างน้อยสองครั้งต่อปี
และมีประธานการประชุมเป็นรัฐมนตรีที่เหมาะสมจากรัฐสมาชิกซึ่งเป็นประธานอาเซียน
และให้คณะมนตรีประชาคมอาเซียนแต่ละคณะได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่อาวุโส
ที่เกี่ยวข้อง
สำาหรับการประชุมภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนแบ่งออกเป็น
3 ระดับ ดังนี้
1) การประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN
Socio-Cultural Community (ASCC) Council Meeting) เป็นการประชุมระดับ
รัฐมนตรีโดยจัดการประชุมปีละ 2 ครั้ง ซึ่งปกติจะเป็นการประชุมต่อเนื่องกับการประชุม
เจ้าหน้าที่อาวุโสสำาหรับคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อพิจารณา
รับรองตราสาร เอกสาร และแผนงานต่าง ๆ รายงานผลความคืบหน้าในการดำาเนินการ
ตามแผนงาน ASCC ต่อผู้นำาในการประชุมสุดยอดอาเซียน ในส่วนของประเทศไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้แทน
ในคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
1