Page 10 - E-Book คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย
P. 10
8
๓. การยึดประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหายเป็นสิ่งสำาคัญในการกระทำาการใด ๆ เพื่อเป็นการ
คุ้มครองและช่วยเหลือ (Best interest determination) ด้วยการจัดให้มีกลไกและแนวทาง
การประเมินร่วมกันระหว่างสหวิชาชีพเพื่อพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้เสียหาย
มีความปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เสียหายที่เป็นเด็ก
้
๔. การคำานึงถึงสภาวะของผู้เสียหายที่ได้รับความบอบชำาหรือมีบาดแผลทางจิตใจ
(Trauma Informed Care) ด้วยการประเมินและคิดวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่ผู้เสียหายประสบ
ทั้งก่อน ระหว่างและภายหลัง รวมถึงการจัดมาตรการป้องกันเพื่อลดผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้น
จากบุคคลแวดล้อม ส่งเสริมการจัดนโยบายคุ้มครองผู้เสียหายภายในองค์กร (Survivor Safeguarding)
ตลอดจนการส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมแห่งการเยียวยาฟื้นฟูในระหว่างการใช้บริการและระยะ
เวลาภายหลังที่พ้นจากการคุ้มครอง
๕. การคำานึงถึงความต้องการเฉพาะและความเป็นปัจเจกบุคคลของผู้เสียหายที่มี
ความแตกต่างกันไป ด้วยระบบการจัดการรายกรณีและมีการวางแผนการให้ความช่วยเหลือ
เป็นรายบุคคลให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เสียหาย
๖. มุ่งเน้นการเสริมพลังอำานาจให้กับผู้เสียหาย (Survivor empowerment)
ในการจัดบริการเยียวยาฟื้นฟู เพื่อสร้างความตระหนักและเคารพในคุณค่าของตนเองของผู้เสียหาย
สามารถกำาหนดวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีทางเลือกหลากหลาย การตัดสินใจได้ด้วยตนเองในแนวทาง
ที่ถูกต้องและเหมาะสม ส่งเสริมภาวะความเป็นผู้นำาในการรณรงค์พิทักษ์สิทธิของตนเองและผู้อื่น
วัตถุประสงค์
เป็นแนวทางการปฏิบัติงานสำาหรับบุคลากรในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย
จากการค้ามนุษย์ทั้ง ๘ แห่ง ดังนี้
๑. เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย
ของหน่วยงาน
๒. เพื่อใช้เป็นองค์ความรู้ในการกำาหนดบทบาทหน้าที่ภาระงานต่าง ๆ อย่างชัดเจนไม่เกิด
้
การซำาซ้อนและสามารถเชื่อมโยงการทำางานแบบมีส่วนร่วมภายในหน่วยงาน
๓. เพื่อให้การปฏิบัติงานเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์มุ่งสู่มาตรฐานสากล
คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์