Page 123 - E book พว21001_Neat
P. 123

122




                     เรื่องที่ 1  โลก (Earth)

                     ก าเนิดโลก
                            นักวิทยาศาสตร์หลายคนพยายามที่จะอธิบายการก าเนิดของโลกมาตั้งแต่ ค.ศ. 1609 หนึ่งในนั้น

                     คือ กาลิเลโอ ที่ส่องกล้องขยายดูพื้นผิวที่เป็นหลุมเป็นบ่อบนดาวเคราะห์ดวงอื่นพบว่า มีหลุมบ่อ

                     มากมาย หลุมบ่อเหล่านั้นเป็นผลจากเทหวัตถุ (อุกาบาต) วิ่งชนและเกิดการหลอมรวมตัวกันท าให้ขนาด

                     ของดาวเคราะห์เพิ่มใหญ่ขึ้นเรื่อย
                            นักวิทยาศาสตร์ เชื่อกันว่าเอกภพเกิดมาเมื่อ 10,000 ล้านปีแล้ว ขณะที่โลกเพิ่งเกิดมาเมื่อ 4,600

                     ล้านปี การก าเนิดของโลกเริ่มจากปรากฏการณ์ที่ฝุ่นและก๊าซที่กระจายอยู่ในจักรวาลมารวมตัวกันเป็น

                     วงก๊าซที่อุณหภูมิร้อนจัด  และมีความหนาแน่นมหาศาล อุณหภูมิสูงมากประมาณการจนท าให้กลุ่มฝุ่น

                     และก๊าซนี้เกิดการระเบิดขึ้นมาเรียกว่า บิ๊กแบงค์ ถือว่าเป็นการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ ส่งให้มวลสาร
                     แพร่กระจายออกไปจุดศูนย์กลางที่ร้อนที่สุด คือ ดวงอาทิตย์  (มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,400,000  กิโลเมตร

                     อุณหภูมิ 15 ล้านองศาเซลเซียส) ส่วนมวลสารอื่น ๆ ที่ยังกระจายอยู่ทั่วไปเริ่มเย็นลง (พร้อมกันนั้นไอ

                     น ้าก็เริ่มกลั่นตัวเป็นหยดน ้า) ได้เป็นดาวเคราะห์น้อยมากมายประมาณว่ามีร้อย ๆ ล้านดวงลอยเคว้งคว้าง
                     อยู่ในจักรวาล ชนกันเอง ช้าบ้าง เร็วบ้าง ชนกันไปเรื่อย ๆ ในที่สุดการชนก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ชน

                     กันไปชนกันมาดาวเคราะห์บางดวงค่อย ๆ ปรากฏมวลใหญ่ขึ้น เมื่อใหญ่ขึ้นแรงดึงดูดก็มากขึ้นตามมา

                     ยิ่งถูกชนมากยิ่งขนาดใหญ่ขึ้นเก็บสะสมพลังงานได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้การก่อก าเนิดโลกก็เกิดขึ้น ดาว
                     พุธ ดาวศุกร์ ก็เกิดขึ้นด้วยในท านองเดียวกัน ช่วงแรกพื้นผิวโลกจึงปรากฏรูพรุนเต็มไปหมด เนื่องจาก

                     การชนกลายเป็นหลุมอุกาบาตร ซึ่งเทียบได้จากพื้นผิวของดวงจันทร์ซึ่งศึกษาได้ในขณะนี้



                     การโคจรของโลก
                                   โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365.25 วัน  เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปี

                     มี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแต่ละปี ซึ่งทุก 4 ป ี จะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน

                     กล่าวคือเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ วงโคจรของโลกไม่เป็นวงกลม ใน
                     เดือนธันวาคมมันจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งมันจะอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มาก

                     ที่สุด โลกจะเอียงไปตามเส้นแกน ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ดังนั้น ซีก

                     โลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย์ ท าให้

                     ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวและซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมและกันยายน  ซีกโลกทั้งสองไม่
                     เอียงไปยังดวงอาทิตย์ กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเท่ากัน ในเดือนมีนาคม ซีกโลกเหนือจะเป็น

                     ฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง ในเดือนกันยายน สถานการณ์จะกลับกัน
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128