Page 13 - YEC M
P. 13

กลางป่าลึก ณ ต�าบลดอนเงิน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม ปรากฏมีวัดสี
                                                                                                  แดงดั่งชาดทาตั้งตระหง่านอยู่อย่างเงียบๆ  ซ่อนความงามทางสถาปัตยกรรมแห่ง
                                                                                                  พุทธศาสนาอย่างมิดชิดจากนักท่องเที่ยวทั่วไป   มีเพียงศิษยานุศิษย์ของพระ
                                                                                                  อาจารย์เบิ้ม(พระครูเมธีธรรมนันท์  เมธนันท์  สุเมโธ)  ที่แวะเวียนร่วมท�าบุญกัน
                                                                                                  จ�านวนพอประมาณ  จนวันนึงผู้เขียนมีโอกาสได้เข้าไปที่วัดนี้โดยบังเอิญ  ต้อง
                                                                                                  ตะลึงในความงามสง่าของพระอุโบสถแห่งนี้  ผู้เขียนได้เข้าไปกราบถามความเป็น
                                                                                                  มาของวัดแห่งนี้จากท่านพระครู  ท่านเล่าว่าแต่ก่อนเก่าที่นี้เป็นป่าช้า  พระธุดงค์
                                                                                                  มาปักกรดกันที่นี่ญาติโยมเลื่อมใสเข้ามาร่วมปฏิบัติธรรมจึงได้ก่อตั้งเป็นวัดขึ้นมา
                                                                                                  ตั้งแต่ปี 2548 ได้ชื่อว่าวัดป่าหนองชาด เมื่อศรัทธาหลั่งไหลทางวัดจึงได้ด�าริสร้าง
                                                                                                  พระอุโบสถขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธทั้งหลาย   ท่าน
                                                                                                  พระครูอธิบายว่าท่านได้ออกแบบอุโบสถหลังนี้ด้วยตัวท่านเอง  โดยน�าเอาศิลปะ
                                                                                                  หลายชาติมาผสมผสานกัน  อันได้แก่ศิลปะพม่า  ลาวและไทย  โดดเด่นด้วยพระ
                                                                                                  อุโบสถคอนกรีตหุ้มเนื้อไม้แดงทั้งหลัง  ตัวผนังโบสถ์เป็นเรือนกระจกแกะลายฝัง
                                                                                                  กรอบด้วยไม้ลายสลักอ่อนช้อยงดงาม รอบพระอุโบสถมีวิหารคตรูปสี่เหลี่ยมล้อม
                                                                                                  อีกชั้นซึ่งวัดลักษณะนิยมแบบนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นในภาคอีสานมากนัก  ส่วนใหญ่
                                                                                                  ปรากฏในภาคกลางและภาคเหนือเสียมาก  แต่วิหารคตที่นี่กลับสร้างความตื่นตา
                                                                                                  ตื่นใจด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือการทาสีแดงทั่วทั้งผนังทั้งด้านนอกและด้านใน
                                                                                                  แล้วยังประดับตกแต่งด้วยพระพิมพ์รูปพระสมเด็จเต็มทั้งผนัง  หากค�านวณด้วย
                                                                                                  พื้นที่น่าจะราวๆสองหมื่นองค์  ท่านพระครูส�าทับว่าพระพิมพ์เหล่านี้มิได้ท�าจาก
                                                                                                  ปูนปั้นเพียงอย่างเดียวแต่ทุกองค์ยังได้ผสมมวลสารศักดิ์สิทธิ์ลงไปด้วย  ท�าการ
                                                                                                  ปลุกเสกพิธีดั่งพระเครื่องแล้วพิมพ์ทีละองค์  จากนั้นค่อยๆน�าขึ้นไปติดทีละองค์
                                                                                                  เรียงไปเรื่อยๆเป็นงานช่างที่ปราณีตไร้ที่ติเป็นที่มาของค�าว่า“วิหารคตหมื่น
                                                                                                  สมเด็จ” ที่ชาวคณะสื่อมวลชนตั้งฉายาให้ นอกจากนี้ผู้เขียนยังชอบมุมภาพที่ซุ้ม
                                                                                                  ประตูด้านทิศเหนืออย่างมากเพราะทิวทัศน์มองไปเห็นทุ่งนาเป็นกรอบภาพที่
                                                                                                  งดงาม   จึงขออนุญาตท่านพระครูน�าคณะช่างภาพและสื่อมวลกลับไปที่วัดอีก
                                                                                                  หลายครั้ง  ครั้งหลังสุดท่านพระครูแจ้งว่าปัจจุบันนักท่องเที่ยวเข้ามาที่นี่มากขึ้น
                                                                                                  เรื่อยๆ คงถึงเวลาต้องท�าป้ายบอกทางเข้าวัดแล้วกระมัง หากนักท่องเที่ยวท่านใด
                                                                                                  ใคร่อยากตามไปชมวัดนี้ทางเข้าอาจจะลึกสักหน่อยแต่รับรองว่าความงามของวัด
                                                                                                  จะไม่ท�าให้ท่านผิดหวัง  เพียงขับรถผ่านอ�าเภอเชียงยืนมุ่งหน้า  จ.กาฬสินธุ์
 “วิหารคตหมื่นสมเด็จ”                                                                             (ถ.ขอนแก่น-ยางตลาด)  ออกจากตัวอ�าเภอมาเล็กน้อย  มองซ้ายหาโรงเรียนบ้าน
                                                                                                  หนองคูเอาไว้ท่านจะพบป้ายน�าทางของทางวัดแล้วขับตามป้ายไปเรื่อยๆ จากนั้น
                                                                                                  ท่านจะพบสถานที่งดงามแห่งนี้เอง
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18