Page 128 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 128

123





                         ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคน และศาสนาทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายเดียวกัน

           คือ สอน ให้ทุกคนทําความดีและละเว้นจากการทําความชั่ว ดังนั้น ถ้าทุกคนปฏิบัติตามคําสั่ง

           สอนของศาสนาที่ตน นับถืออย่างเคร่งครัด จะส่งผลให้ชีวิตผู้ปฏิบัติมีความสุขและอยู่ร่วมกันใน

           สังคมอย่างมีความสุข
                         ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมาย คําว่า “ศาสนา” คือ ลัทธิความเชื่อของมนุษย์

           อันมีหลักคือ แสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตต์ ประการหนึ่ง

           แสดงหลักธรรม เกี่ยวกับบุญบาปไปในฝ่ายศีลธรรม ประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตาม
           ความเห็นหรือตามคําสั่งสอน ในความเชื่อนั้น ๆ

                         สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น นพวงศ์) ทรงอธิบาย

           ว่า ศาสนา คือ คําสั่งสอน ท่านผู้ใดเป็นต้นเดิม เป็นผู้บัญญัติสั่งสอน ก็เรียกว่าศาสนาของท่านผู้
           นั้น หรือท่านผู้บัญญัติ สั่งสอนนั้นเป็นนามพิเศษอย่างไร ก็เรียกชื่อนั้นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น

           ศาสนาจึงมีมาก คําสอนก็ต่างกัน

                         พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต (2540:291) ได้ให้คํานิยามว่า ศาสนา คือ
           คําสอน คําสั่งสอนปัจจุบันใช้หมายถึง ลัทธิความเชื่อถืออย่างหนึ่ง ๆ พร้อมด้วยหลักคําสอน ลัทธิ

           พิธี องค์การ และ กิจการทั่วไปของหมู่ชน ผู้นับถือลัทธิความเชื่อถืออย่างนั้น ๆ ทั้งหมด

           สรุป คํานิยามจากนักทฤษฎีหลายท่าน ต่างให้นิยามของศาสนาไปตามโลกทัศน์แต่ละบุคคล ซึ่ง

           เมื่อพิจารณาจากคํานิยามใดดีที่สุดย่อมถูกต้องและเหมาะสมแตกต่างกันออกไปตามหลักความ
           เชื่อของ ศาสนานั้น ๆ




                  7.1.2 ศาสนาเป็นคําสั่งสอนของศาสดา

                         ศาสนาเป็นคําสั่งสอนของศาสดา ประกอบด้วย หลักธรรมคําสอน แนวความเชื่อ
           และแนว การปฏิบัติ มีหลักการสําคัญดังนี้

                         1. เป็นหลักการในการดํารงชีวิตของคนสามารถนําหลักธรรมมาปฏิบัติใน

           ชีวิตประจําวัน
                         2. ศาสนาเป็นหลักใช้ในการบริหารประเทศ นําหลักธรรมของศาสนาไปใช้ในการ

           ปกครอง เช่น หลักทศพิธราชธรรม หรือหลักธรรมาธิปไตย และหลักอปริหานิยธรรม เป็นหลักใน

           การปกครอง
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133