Page 43 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 43
38
ครอบครัว เป็นสถาบันสังคมแรกเริ่มที่มีความสําคัญที่สุด เพราะเป็นสถาบันพื้นฐาน ที่มี
บทบาท สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ทุกคนในสังคม เป็นสถาบันแรกที่ทําหน้าที่ทางสังคมใน
การถ่ายทอดค่านิยม ปลูกฝังความเชื่อ สร้างเสริมทัศนคติ กําหนดบุคลิกภาพ วิธีประพฤติปฏิบัติ
ตน รวมทั้งการสร้างบรรทัดฐาน ทางสังคมให้แก่ สามชิกรุ่นใหม่ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมและ
ประเทศ ครอบครัวจึงเปรียบเสมือนจักรกลชั้น แรกที่ทําหน้าที่หล่อหลอมบุคลิกภาพของบุคคล
ให้เป็นไปตามที่สังคมต้องการ นําไปสู่การดํารงชีวิตอยู่ใน สังคมอย่างปกติสุข
ครอบครัว หมายถึง การอยู่ร่วมกันของกลุ่มบุคคลที่เป็นสมาชิก ซึ่งมีความสัมพันธ์และ
ผูกพันกัน ความสัมพันธ์ทางสายโลหิต การรับบุตรบุญธรรม สมาชิกแต่ละบุคคลมีบทบาทหน้าที่
แตกต่างกัน
เฉลียว บุญยงค์ (2538 : 45) ได้สรุปความหมายของครอบครัวไว้ดังนี้
1. ครอบครัว คือ องค์การหรือหน่วยทางสังคมขนาดย่อม ซึ่งเกิดจากที่ชายหญิงคู่หนึ่งให้
กําเนิดบุตร และสามารถเลี้ยงดูบุตรให้อยู่ในสังคมได้
2. ครอบครัว คือ กลุ่มของบุคคลต่าง ๆ ที่อยู่รวมกันและมีความผูกพันทางด้านการ
แต่งงาน การสืบ สายโลหิต หรือการรับบุตรบุญธรรม ซึ่งก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันในบ้านเรือน
เดียวกัน
3. ครอบครัว คือ ความต่อเนื่องกับความสัมพันธ์ในทางเพศที่มีเวลานานพอที่ให้กําเนิด
บุตร และ สามารถเลี้ยงดูอบรมบุตรเหล่านั้นได้
4. ครอบครัว หมายถึง คนหลาย ๆ คนที่อยู่รวมกันเป็นเวลานานพอที่จะให้ผู้อื่น (สมาชิก
ใหม่) เกิด มาได้ ตามความหมายนี้แสดงว่าไม่ได้มุ่งความสําคัญที่ครอบครัวแต่มุ่งที่ตัวบุคคลที่อยู่
ร่วมกันมากกว่าเป็น ที่รวมของบุคคลหลาย ๆ คนโดยไม่จํากัดอายุ เพศ
ครอบครัว หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันและใช้ความใกล้ชิด ทําหน้าที่เป็นสถาบัน
หลักเป็น แกนกลางของสังคมที่มีรากฐานสําคัญยิ่งต่อการดํารงชีวิต ครอบครัวมีหลากหลาย
รูปแบบและหลาย 2547-2556) ลักษณะซึ่งประกอบด้วยบิดา มารดา และบุตร (นโยบาย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ.
ไพฑูรย์ เครือแก้ว (2513 : 134-135) ได้ให้ความหมายของครอบครัวไว้ว่า ครอบครัวนั้น
จะต้อง ประกอบด้วยบุคคลต่างเพศ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีความสัมพันธ์ทางเพศซึ่งกันและกัน มี
ข้อผูกพันที่จะให้ ความสัมพันธ์ทางเพศที่มีต่อกันนั้นเป็นไปด้วยความแน่นอนและมีระยะเวลา
ยาวนานพอที่จะทําให้เกิดบุตร ธิดาด้วยกันได้ นอกจากนั้นจะต้องมีข้อตกลงทางเศรษฐกิจและ
สังคมร่วมกัน สามารถที่จะเลี้ยงดูบุตรและ ธิดาให้มีโอกาสเจริญเติบโตขึ้นมาได้