Page 63 - E-book หนาทพลเมองและศลธรรม OMG V.02_Neat
P. 63
58
นอกจากนี้ยังมีประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีที่นิยมปฏิบัติกันในแต่ละ
ท้องถิ่น หรือแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย เช่น ประเพณีรดน้ําดําหัวของภาคเหนือ ประเพณีชัก
พระของชาวภาคใต้ และประเพณีจุดบั้งไฟของภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย
(ก) ประเพณีลากพระหรือชักพระ เป็นประเพณีของชาวใต้ กระทํากันใน
วันแรม 1 ค่ํา เดือน 11 เกิดจากเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดา (ทางภาคกลางมีทําบุญตัก
บาตรเทโว) ประเพณีนี้ จะมีการอัญเชิญพระพุทธรูปออกมาทําพิธีสรงน้ําก่อนพร้อมกับมีการ
สมโภชก่อนถึงวันชักพระ การชักพระ หรือลากพระมีทั้งทางบกและทางน้ํา โดยใช้พระพุทธรูป
ปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐานบนที่ประทับ ซึ่งมีการ ตกแต่งอย่างสวยงาม อาหารที่สําคัญ คือ
ข้าวต้มมัดหรือข้าวต้มห่อ ซึ่งทําด้วยข้าวเหนียวระหว่างการแห่ ผู้คนตามข้างทางหรือสองข้าง
แม่น้ํา จะใส่บาตรไปด้วย
(ข) ประเพณีดําหัว เป็นประเพณีของภาคเหนือถือปฏิบัติกันมานาน การ
ดําหัวเป็น การแสดงออกถึงการขออภัย การให้อภัยการเคารพนับถือกันในหมู่คณะและสังคม
เดียวกัน ประเพณีนี้จัด ในวันที่ 3 ของเทศกาลสงกรานต์หลังจากที่ทําบุญเลี้ยงพระ ตอนเช้า
อุทิศให้บรรพบุรุษแล้ว ในตอนบ่ายหรือ ตอนคําก็มีการไปเคารพผู้เฒ่า ญาติมิตร บิดามารดา
เรียกว่า ไปดําหัวเครื่องคารวะที่ใช้ในการดําหัว ได้แก่ ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียนน้ําขมิ้น ส้มป่อย
และของกินของใช้อื่น ๆ เช่น มะม่วง มะพร้าวอ่อน กล้วย อ้อย ขนม หมาก พลู บุหรี่ อาจมีเงิน
ทอง เสื้อผ้า และของที่ระลึกอื่น ๆ จัดใส่พานหรือภาชนะตกแต่งเรียบร้อย
รูปที่ 3.8 ประเพณีรดน้ําดําหัว