Page 84 - demo
P. 84
40) บัว
ชื่อพื้นเมือง : บัวหลวง, สัตตบงกช, สัตตบุษย์, อุบล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : N. nucifera Gaertn. (บัวหลวง)
ชื่อวงศ์ : Nelumbonaceae
ชื่อสามัญ : Lotus
ถิ่นก าเนิด : แถบเอเชีย เช่น จีน อินเดีย และไทย
ลักษณะ : เป็นพืชน้ าล้มลุกที่มีทั้งลักษณะล าต้นที่เป็นหัว เหง้า หรือไหล
ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากล าต้นโดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ าผิวน้ าหรือ
เหนือน้ า รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัว กลีบด้านนอก
สุด 2 - 4 กลีบ มักมีขนาดเล็กกว่าปกติ ลักษณะคล้ายเป็นกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้
จ านวนมาก ก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณูรูปยาว สีเหลือง ที่ยอดอับเรณูมีรยางค์สีขาวยื่น
ออกมาเป็นติ่ง เกสรเพศเมียจ านวนมากเรียงตัวอยู่บนฐานรองดอกที่ขยายขนาด
ออกมาคล้ายฝักบัว เรียก ฐานดอกนูน (torus) โผล่เฉพาะส่วนยอดเกสรเพศเมียให้เห็น
ก้านชูยอดเกสรเพศเมียสั้นมาก ยอดเกสรเพศเมียคล้ายรูปจานสีเขียว รังไข่เหนือ
วงกลีบ ออวุล 1 อันติดอยู่ด้านบนของรังไข่
ประโยชน์ : ใช้ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา และ ประกอบอาหาร
นิเวศวิทยา : ต้องการน้ ามากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ า แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
เวลาออกดอก : ตลอดทั้งปี
77