Page 24 - โครงงานเผยแพร่ภูมิปัญญาย้อมสีผ้าจากมูลควายกลุ่มที่5sec02
P. 24
17
ความคิดสร้างสรรค์มาแปลงเป็นรายได้ ท าให้รายได้กระจายอยู่ภายในชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็ง ทุก
คนพร้อมเป็นเจ้าบ้าน ท าให้ลูกหลานไม่ต้องออกไปหารายได้จากภายนอกชุมชน ซึ่งแตกต่างจาก
OTOP เดิม ที่ต้องน าสินค้าออกไปขายนอกชุมชน และทุกอย่างขึ้นกับหน่วยงานของรัฐ
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ให้งบประมาณ 10,000 ล้านบาท กับโครงการชุมชนท่องเที่ยว
OTOP นวัตวิถี โดยจะคัดเลือกจากชุมชนที่มีศักยภาพใน 76 จังหวัด 878 อ าเภอ อ าเภอละ 3-5
แหล่งท่องเที่ยว พร้อมเข้าไปสร้างความเข้าใจกับชุมชน ทั้งช่วยวิเคราะห์ เสน่ห์ วิถีชีวิต ภูมิปัญญา
วัฒนธรรม ของชุมชนนั้น ก าหนดเส้นทางท่องเที่ยว ต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็น
การเตรียมความพร้อมเพื่อการค้าต่อนักท่องเที่ยว
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการ คือ พิจารณาศักยภาพของชุมชน ทั้งจ านวนนักท่องเที่ยว
ต้นทุนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านศิลปะและวัฒนธรรมเป็นต้น พิจารณาถึงการเชื่อมโยงของ
แหล่งท่องเที่ยว เช่น แหล่งท่องเที่ยวหลัก คือ 22 เมืองหลัก แหล่งท่องเที่ยวรอง คือ 55 เมืองรอง
ส่วนแหล่งท่องเที่ยวเล็ก คือ ชุมชนท่องเที่ยวที่มีกิจกรรม สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่ส่งเสริมกัน การ
ด าเนินการต้องไม่เริ่มจากศูนย์ โดยสามารถต่อยอดจากหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวได้ หรือต่อ
ยอดหมู่บ้านที่ได้รับการสนับสุนนจาก อพท. เป็นต้น ต้องเน้นการจ าหน่ายผลิตภัณฑ์โอทอป มีจุดขาย
ที่เป็นเสน่ห์ เช่น ลักษณะทางธรรมชาติ ทั้งแม่น้ า ภูเขา มีประวัติ และต านาน ต้องมีความเข้มแข็งของ
ชุมชน มีการจัดท าแผนธุรกิจ ปฏิทินท่องเที่ยวของชุมชน ที่ใช้งบประมาณอย่างสมเหตุสมผลอย่าง
ยั่งยืน
นายอภิชาต โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย เปิดเผย
ว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดท าโครงการ “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี” ซึ่งนับเป็นยุทธศาสตร์
ใหม่ซึ่งจะส่งผลดีกับนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ในการสร้างความมั่นคงให้กับ
เศรษฐกิจฐานราก และเพื่อลดความเหลื่อมล้ าของสังคม เกิดชุมชนเข้มแข็ง ยั่งยืน โดยการน านวัตกรร
มาผสมผสานกับวิถีชีวิต ในการผลิตสินค้าท้องถิ่นหรือผลิตภัณฑ์โอทอป ภายใต้แนวคิด ร่วมสุข ร่วมวิถี
ร่วมสมัย (Happiness Oriented)พร้อมกับผนวกการท่องเที่ยวของชุมชนเข้าไป
ที่ผ่านมา พัฒนาการของโอทอป ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานรากนั้นแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
ประกอบด้วย ช่วงแรกปี 2546-2556 เป็นช่วงหนึ่งต าบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ – พออยู่ พอกิน ช่วงที่ 2
ระหว่างปี 2557-2560 เป็นช่วงหลากเสน่ห์ หลายผลิตภัณฑ์ -อยู่ดี กินดี และปี 2561 เป็นช่วงนวัตวิถี
ร่วมสุข ร่วมวิถี ร่วมสมัย -มั่งมี ศรีสุข ซึ่งเปลี่ยนจากการผลักดันสินค้าโอทอปโดยรัฐเข้ามาให้ความ
ช่วยเหลือทุกด้านเป็นการกระจายรายได้ตามความต้องการของชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นตัวตั้ง เพื่อ
ร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชนท่องเที่ยวระดับหมู่บ้านหรือ “แอ่งเล็ก”ที่มีอัตลักษณ์ และช่วยกันยกระดับ
สินค้าโดยน านวัตกรรมมาผสมผสานกับวิถีของชุมชนอย่างน้อย 1 หมู่บ้านต่อสินค้า 10 ผลิตภัณฑ์ ซึ่ง
จะท าให้ชุมชนมีรายได้และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง (ไทยรัฐออนไลน์.2561)