Page 23 - ED 211
P. 23
จนถึงรายละเอียดเล็ก ๆน้อย ๆ รวมทั้งกระแสน้ าขึ้นน้ าลง และปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงของโลก ระบบคณิตศาสตร์แบบนิวตันเกี่ยวกับโลก ได้กลายเป็น
ทฤษฎีเกี่ยวกับความจริงอันถูกต้อง และเป็นทฤษฎีที่ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นอย่างแรง
กล้าในหมู่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย รวมตลอดไปถึงสาธารณชน ทั่ว ๆ ไปด้วย ภาพของ
โลกในลักษณะเครื่องจักรอันสมบูรณ์ ซึ่งได้รับการเสนอมาโดยเดสการ์ตส์ (Rene
Descartes. 1596-1650) นั้น สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ (คาปร้า. 2539: 70)
พัฒนาการของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ท าให้ปรากฏการณ์ทางกายภาพไม่ได้เป็นสิ่งเหนือ
ธรรมชาติหรือการกระท าของสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป สิ่งเหนือธรรมชาติและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงไม่มีพื้นที่อยู่ใน
กระบวนทัศน์แบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ รวมทั้งยังท าให้ความเชื่อในพระเจ้าเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากมากขึ้น
ทัศนะการมองโลกแบบองค์รวมจึงถูกแทนที่ด้วยทัศนะวัตถุนิยมแบบกลไกแยกส่วน ที่เชื่อกันว่า วัตถุเป็น
พื้นฐานของปรากฏการณ์ต่าง ๆ และโลกทางวัตถุเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ประกอบขึ้นจากองค์ประกอบ
จ านวนมากมายที่สามารถแยกจากกันได้ และการท างานถูกควบคุมด้วยกฎเกณฑ์เชิงเหตุและผลที่แน่นอน
4
ปรากฏการณ์อันสลับซับซ้อนจึงสามารถท าความเข้าใจได้ โดยการลดทอน แยกส่วนลงมาศึกษาหน่วย
ย่อยพื้นฐาน และมองหากลไกการท างานของหน่วยย่อยเหล่านี้
ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับกระบวนทัศน์ เพราะเป็นการ
เปลี่ยนแปลงที่ทัศนะพื้นฐานอันเป็นตัวก าหนดวิธีคิด วิธีปฏิบัติและวิธีให้คุณค่าชุดใหม่ ดังจะเห็นได้จาก
ข้อความตอนหนึ่งในบทวิเคราะห์ว่าด้วยการศึกษากับปัญหาสภาวะความรู้มนุษย์ของ เสน่ห์ จามริก
(2546: 31) ความตอนหนึ่งว่า
เค้าโครงความเป็นมาและสาระส าคัญของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจสรุปลงเป็น
กระบวนการก่อตัวของโลกทัศน์ใหม่ที่คิดและเห็นโลกและธรรมชาติเป็นเครื่องยนต์กลไกซึ่ง
ลดทอนแยกส่วนได้ จิตกับสสาร วัตถุ รวมทั้งร่างกายเป็นเรื่องที่แบ่งแยกออกจากกัน
วิทยาศาสตร์ฟิสิกส์เกิดเป็นต้นตอที่มาของหลักคิดและแนวทางของศาสตร์อื่น ๆ ที่ตามมา
นอกเหนือไปจากนี้ เรายังได้ประจักษ์เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างองค์ความรู้
วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ กับ “ศาสตร์” อันเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และสังคม
อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีสัมพันธภาพ (Theory of Relativity) และทฤษฎีควอนตัม
(Quantum Theory) ซึ่งถือก าเนิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ได้ท าให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์
4 การลดทอน (Reductionism) หมายถึง การที่ส่วนทั้งหมดถูกแยกย่อยออกเป็นส่วนย่อย และถูกอธิบายด้วย
คุณสมบัติของส่วนย่อยนั้น ซึ่งยังคงต้องอาศัยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของส่วนย่อยนั้นอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง (วีระ สมบูรณ์.
2550: 30)
เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 17