Page 50 - ED 211
P. 50

นัยของการศึกษา ความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ในยุคทันสมัย

                               เมื่อพิจารณาความหมายของการศึกษาในยุคทันสมัย  จะเห็นถึงการผูกโยงและตรึง

                   ความหมายของการศึกษาไว้กับการศึกษาในระบบโรงเรียน ซึ่งให้ความส าคัญกับความรู้สมัยใหม่ที่จัดระบบ

                   อยู่ในรูปของศาสตร์ซึ่งแตกต่างจากความรู้แบบเดิมในยุคก่อนทันสมัย  เมื่อการศึกษากลายเป็นเครื่องมือที่
                   ส าคัญในการเตรียมคนให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาประเทศ

                   ไปสู่ความทันสมัย  การศึกษาในระบบโรงเรียนจึงกลายเป็นฐานการเรียนรู้หลักของคนทั้งสังคม  และท าให้

                   ความรู้ในระบบโรงเรียนถูกมองเป็นความรู้เพียงแบบเดียว  ทั้งที่เป็นความรู้แบบหนึ่งที่แตกต่างจากความรู้
                   ในวิถีชีวิตซึ่งเป็นระบบความรู้แบบเดิมในยุคก่อนทันสมัย  ท าให้ความรู้ในวิถีชีวิตไม่ถือเป็นความรู้อีกต่อไป

                   ด้วยนัยนี้  การเรียนรู้ในยุคทันสมัยจึงไม่ใช่สังคมแห่งการเรียนรู้  เพราะการเรียนรู้ถูกมองว่าเกิดขึ้นเฉพาะ

                   ในสถานศึกษาเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม  การประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไข
                   เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 เพื่อปฏิรูปการศึกษา  ควรมีผลให้ทัศนะในการ

                   มองความหมายของการศึกษาที่ผูกโยงอยู่กับระบบโรงเรียนคลายตัวลง  รวมทั้งควรท าให้ทัศนะในการมอง

                   ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่ให้คุณค่ากับความรู้สมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไปด้วย  แต่เนื่องจากการปฏิรูป
                   การเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ

                   (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 ล้มเหลว  กระบวนทัศน์การศึกษาในยุคทันสมัยจึงยังคงเป็นกระบวนทัศน์ที่มีอิทธิพล

                   อย่างส าคัญสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน













































                                                       เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 42
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55