Page 5 - หลักการตลาด
P. 5
ความรู้ทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์
1.1 เศรษฐศาสตร์ คืออะไร
1.1 เศรษฐศาสตร์ คืออะไร
วิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมใน
การตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จ ากัดและสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายทางมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ
ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงสุด
จากค านิยามข้างต้น ได้เกิดแนวคิด เกี่ยวข้องในทางเศรษฐศาสตร์ไว้ หลายประการด้วยกัน ดังนี้
การขาดแคลน ( Scarcity )
การที่เกิดการขาดแคลนขึ้นเนื่องจากความต้องการของมนุษย์ในสังคมมีมากกว่าความสามารถขอ
สังคมที่ตอบสนองได้ทั้งหมดซึ่งผลักดันให้มนุษย์ต้องท าการตัดสินใจเลือกสิ่งที่ จะสนองความต้องการและความพอ
ใจได้ดีที่สุด
การเลือก ( Choices )
ปัญหาการขาดแคลนและการเลือก มักไปด้วยกัน บุคคลแต่ละคน หน่วยธุรกิจต่าง ๆ ตลอดจน
สังคมโดยส่วนรวม ต้องตัดสินใจเลือกทางทางเลือกทางหนึ่ง บุคคลต้องเลือกระหว่างการหางานท าหรือการศึกษา
ต่อ ระหว่างการไปดูภาพยนตร์หรือไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ธุรกิจต่าง ๆต้องท าการตัดสินใจว่าควรซื้อวัสดุ
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไหน ควรผลิตสินค้า อะไรออกจ าหน่าย ควรว่าจ้างอย่างไร ควรสร้างโรงงานใหม่อีกหรือไม่ เมือ
เลือกทางใดทางหนึ่งก็เกิด ต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity Cost) หมายความว่า เมื่อเราใช้ทรัพยากรที่ขาดแคลน
ไปผลิตสินค้าอย่างหนึ่ง ย่อมท าให้เราต้องสูญเสียโอกาสไปผลิตสินค้าอีกหลายอย่างเสมอ
1.2 ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์
1.2 ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว นักปราชญ์สมัยโบราณพยายามสอดแทรก แนวทาง
แนวความคิด และกฎเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ปะปนอยู่ในหลักปรัชญา ศาสนา ศีลธรรม และหลักปกครอง แต่อย่า
ความคิดเหล่านี้ยังไม่ถือเป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เช่น แนวคิดเรื่องการแบ่งงานกันท าของเพลโต Plato แนวคิด
เรื่องความมั่งคั่ง ของอริสโตเติล (Aristotle) เป็นต้น
ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้มีนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษบุคคลแรก ที่วางรากฐานวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ
อาดัม สมิธ (Adam Smith)ได้เขียนต าราทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลก ซึ่งมีชื่อค่อนข้างยาวว่า
“An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations” หรือเรียกสั้นๆว่า “The
Wealth Nations ” (ความมั่งคั่งแห่งชาติ) ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1776 โดยเสนอความคิดว่า รัฐบาลที่เข้ามา
บริหารประเทศควรเข้าแทรกแซงการผลิตและการค้าให้น้อยที่สุด โดยยินยอมให้เป็นภาระหน้าที่ของเอกชน ทั้งนี้
เป็นการสะท้อนถึงแนวความคิดแบบเสรีนิยม หรือส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบเสรีจาก หนังสือของ อาดัม สมิธ
ดังกล่าวถือเป็นต าราทางเศรษฐศาสตร์ที่ส าคัญเล่มแรกของโลก และตัวเขาได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งวิชา
เศรษฐศาสตร์” ในสมัยต่อมา ทัศนะและข้อเขียนของอาดัม สมิธ ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากต่อวิชาเศรษฐศาสตร์
แต่ภายหลังแนวคิดเรื่องนโยบายเสรีนิยมได้รับการ