Page 31 - ถอดบทเรยนบานตาก(เลม)_Neat
P. 31
~ 27 ~
2. สร้างอาชีพ การที่สหกรณ์มีแนวคิดขยายการให้บริการแก่สมาชิกสหกรณ์ในชุมชน
โดยเปิดเป็นปั๊มน ้ามันในชุมชนและสนับสนุนสินค้าสหกรณ์ให้มาจ าหน่าย ท าให้สมาชิกสหกรณ์หลายราย
มีอาชีพเสริมและบางรายเป็นอาชีพหลักและกลายเป็นอาชีพที่มั่นคง เมื่อพ่อ - แม่ แก่ชรา ลูกหลาน
สามารถรับช่วงต่อการด าเนิน ธุรกิจปั๊มน ้ามันชุมชนต่อได้ ลดปัญหาการทิ้งถิ่นฐาน พ่อ - แม่ - ลูก ไป
ท างานในต่างแดน
3. เป็นที่พึ่งด้านการตลาด ทั้งจัดหาสินค้ามาจ าหน่าย และเป็นที่รับซื้อสินค้าจากสมาชิก
ท าให้สมาชิกได้ซื้อ – ขาย สินค้าอย่างยุติธรรม ลดการถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง
4. เป็นที่ออมเงิน จากการเป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านตาก จ ากัด หลังจากได้มี
ความรู้ความเข้าใจในอุดมการณ์ สหกรณ์แล้ว ท าให้สมาชิกถูกฝึกให้มีนิสัยการออมไปโดยอัตโนมัติ นับว่า
เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ครอบครัวสมาชิกในยามฉุกเฉินและมีความจ าเป็นใช้เงิน
ด้านสังคม
1. สิ่งแรกที่ได้ คือ “สายสัมพันธ์” หลังจากเกษตรกรได้เข้ามาเป็นสมาชิกของสหกรณ์
การเกษตรบ้านตาก จ ากัด ได้มีโอกาสพบปะบรรดาเพื่อนสมาชิกด้วยกัน เจ้าหน้าที่สหกรณ์ เจ้าหน้าที่
ส่งเสริมสหกรณ์ และหน่วยงานต่าง ๆ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิด ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ
ท าให้เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ที่สังคมในยุคปัจจุบันค่อนข้างจะมีน้อยลง
2. ความศรัทธา สมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านตาก จ ากัด มีความเชื่อที่ว่า “ถ้าเราเป็น
เจ้าของสหกรณ์ แล้วไม่มาท าธุรกิจกับกิจการของเรา สหกรณ์จะอยู่ได้อย่างไร” ท าให้สมาชิกเกิดความ
จงรักภักดีกับสหกรณ์ และมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์
3. หลักในการประกอบอาชีพ สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่น าแนวคิดเกี่ยวกับ อุดมการณ์
ไปผสมผสานกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ท าให้การด ารงชีวิตประจ าวันมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
4.3 ปัจจัยแห่งความส าเร็จของสหกรณ์
ปัจจัยแห่งความส าเร็จของสหกรณ์แห่งนี้ คือ “สมาชิกสหกรณ์มีความเข้มแข็ง” สิ่งที่
สหกรณ์น ามาใช้ คือ “การให้การศึกษา” โดยยึดหลักที่ว่า การสอนให้สมาชิกสหกรณ์ผู้เป็นทั้งเจ้าของและ
ผู้ใช้บริการ “รู้จักวิธีหาปลาด้วยตนเอง มิใช่ สหกรณ์หาปลามาให้สมาชิกกิน” สิ่งที่สหกรณ์น ามาใช้ในการ
บริหารงาน คือ “การให้ความรู้แก่สมาชิก” หรือการให้ความส าคัญกับหลักการสหกรณ์ข้อที่ 5 ถือว่าเป็ น
เรื่องที่ยั่งยืน หากสมาชิกสหกรณ์ขาดเรื่องนี้การด าเนินงานของสหกรณ์จะสู่ความเข้มแข็งและพัฒนาอย่าง
ยั่งยืนย่อมท าได้ยาก