Page 11 - งานนำเสนอ PowerPoint หยก กิ๊ฟ
P. 11
โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว
คือ เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียงส าหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาว
ของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน) ตรงหน้าฉาก มีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวแทนเตียง มี
การพากย์และเจรจา แต่ไม่มีการร้อง ปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ มีปี่พาทย์ ๒ วง
เพราะต้องบรรเลงมาก ตั้งหัวโรงท้ายโรง จึงเรียกว่าวงหัวและวงท้าย หรือวงซ้ายและวง
ขวา วันก่อนแสดงโขนนั่งราวจะมีการโหมโรง และให้พวกโขนออกมากระทุ้งเส้าตาม
จังหวะเพลง พอ จบโหมโรงก็แสดงตอนพระพิราพออกเที่ยวป่า จับสัตว์กินเป็นอาหาร
พระรามหลงเข้าสวนพวาทองของพระพิราพ แล้วก็หยุดแสดง พักนอนค้างคืนที่โรงโขน รุ่ง
ขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่เตรียมไว้ จึงเรียกว่า "โขนนอนโรง " จาก จดหมายเหตุของ เดอ ลาลู
แบร์ ที่กล่าวถึงการละเล่นบนเวทีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีอยู่ ๓ อย่าง คือ
โขน ละคร ระบ า ท าให้สันนิฐานได้ว่าโขนในสมัยนั้นดีมีการปลูกโรงให้เล่นแล้ว และน่าจะ
เป็นลักษณะของโขนโรงนอกหรือโขนนั่งราวนี้เอง