Page 6 - สัตว์ป่าสงวน-๑๕-ชนิด
P. 6

6





                                                             กระซู่:Dicerorhinus


                                                             sumatrensis

                                                             ลักษณะ :

                                                             กระซู่เป็นสัตว์จ าพวกเดียวกับแรด


                                                             แต่มีลักษณะล าตัวเล็กกว่า

                                                             ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑-๑.๕ เมตร


               น ้าหนักประมาณ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม มีหนังหนาและมีขนขึ้นปกคลุมทั้งตัว

               โดยเฉพาะในตัวที่มีอายุน้อย ซึ่งขนจะลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น


               สีล าตัวโดยทั่วไปออกเป็นสีเทา คล้ายสีขี้เถ้า ด้านหลังล าตัว

               จะปรากฏรอยพับของหนังเพียงพับเดียว ตรงบริเวณด้านหลังของขาคู่หน้า


               กระซู่ทั้งสองเพศมีนอ ๒ นอ นอหน้ามีความยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร


               ส่วนนอหลังมีความยาวไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร หรือเป็นเพียงตุ่มนูนขึ้นมาในตัวเมีย


               อุปนิสัย : กระซู่ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน

               อาหาร ได้แก่ พวกใบไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว


               ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อน ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว มีระยะตั้งท้อง ๗-

               ๘ เดือน ในที่เลี้ยงกระซู่มีอายุยืน ๓๒ ป ี


               ที่อยู่อาศัย : กระซู่อาศัยอยู่ตามป่าเขาที่มีความหนารกทึบ ลงมาอยู่ในป่าที่ราบต ่า


               ในตอนปลายฤดูฝนซึ่งในระยะนั้นมีปรักและน ้าอยู่ทั่วไป


               เขตแพร่กระจาย : กระซู่มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย


               บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม มลายู สุมาตรา และบอเนียว

               ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบกระซู่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่งได้แก่


               ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี

               ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11