Page 831 - รายงานโครงการน้ำอุปโภค-บริโภค ปี60
P. 831

โครงการพัฒนาแหล่งน้ําบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําอุปโภค - บริโภค ประจําปีงบประมาณ 2560


                   78. บ้านนาเพียงน้อย หมู่ที่ 9 ตําบลจุมพล อําเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

                          1. ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ
                          พื้นที่บ้านนาเพียงน้อย หมู่ที่ 9 ตําบลจุมพล อําเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่บริเวณพิกัด Zone
                   48QUTME 304167 UTMN 1990465 ระวางแผนที่ 5644 IV ตามแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ของ

                   กรมแผนที่ทหาร ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีลักษณะเป็นลอนคลื่น มีความสูงจากระดับน้ําทะเลปาน
                   กลางประมาณ 185 เมตร

                          2 .ลักษณะทางอุทกธรณีวิทยา

                          พื้นที่บ้านนาเพียงน้อย หมู่ที่ 9 ตําบลจุมพล อําเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย รองรับด้วยชั้นหินให้
                   น้ําคําตากล้า ประกอบด้วยหินทรายเนื้อละเอียดและหินทรายแป้ง สีแดงอิฐ เม็ดทรายมีลักษณะเหลี่ยม ส่วนใหญ่
                   ประกอบด้วยเม็ดควอซ์ การวางของชั้นเฉียงระดับ น้ําบาดาลถูกกักเก็บอยู่ภายในรอยแตก รอยแยก รอยต่อ
                   ระหว่างชั้นหิน ปริมาณน้ําอยู่ในเกณฑ์ระหว่าง 2 - 10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ปริมาณสารทั้งหมดที่ละลายได้

                   น้อยกว่า500 มิลลิกรัมต่อลิตร

                          3. การสํารวจธรณีฟิสิกส์โดยวิธีวัดความต้านทานไฟฟ้า

                          สํานักสํารวจและประเมินศักยภาพน้ําบาดาลดําเนินการ

                          4. การเจาะและพัฒนาบ่อ
                          การเจาะบ่อน้ําบาดาล มีวัตถุประสงค์เพื่อนําน้ําขึ้นมาใช้ในการอุปโภค-บริโภค โดยการกําหนดจุดเจาะจะ
                   พิจารณาจากข้อมูลธรณีวิทยา และผลการธรณีฟิสิกส์ เพื่อกําหนดจุดที่เหมาะสม มีชั้นน้ําบาดาลที่ให้ปริมาณน้ํา

                   บาดาลมากพอต่อความต้องกันน้ําในการอุปโภค – บริโภค
                          การเจาะบ่อน้ําบาดาลดําเนินการเจาะด้วยหัวเจาะขนาด 12 นิ้ว สําหรับการเจาะระบบ Direct  Rotary
                   และ 8 นิ้วสําหรับการเจาะระบบ Air  Rotary  โดยความลึกสําหรับการเจาะด้วยระบบ Direct  Rotary  จะเจาะ

                   ความลึกไม่น้อยกว่า 6 เมตร หรือแล้วแต่ดุลยพินิจของช่างเจาะขณะทําการเจาะบ่อนั้นๆ และจนกว่าจะถึงชั้นหิน
                   แข็งสําหรับการเจาะแบบ Air Rotary แล้วติดตั้งท่อกันพัง จากนั้นเจาะด้วยหัวเจาะขนาด 6 ½ ตลอดความลึกที่
                   ต้องการ การดําเนินการเจาะบ่อน้ําบาดาล และในขณะทําการเจาะช่างเจาะจะทําการเก็บตัวอย่างเศษดิน-หิน
                   ทุกๆ 1 เมตร นําเศษหินของแต่ละบ่อมาใส่ถาด เพื่อให้นักธรณีวิทยาศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ และคุณสมบัติ

                   ทางธรณีวิทยาของชั้นหินต่างๆ ที่เจาะพบ เพื่อนําข้อมูลมาใช้ในการติดตั้งท่อกรุ ท่อกรอง เลือกขนาดกรวดกรุ
                          การก่อสร้างบ่อน้ําบาดาล ดําเนินการก่อสร้างแบบกรวดกรุรอบท่อ (Artificial Gravel Packed) โดยใช้
                   กรวดแม่น้ําคัดขนาดตามความเหมาะสมของชั้นน้ํา โดยกรุกรวดรอบท่อกรองเหนือท่อกรองไม่เกิน 5  เมตร ใส่
                   รอบท่อกรองน้ําในช่วงชั้นกรวดทรายให้น้ํา เหนือกรวดกรุ ใส่ดินเหนียวน้ําจืดทับกรวดกรุจนถึงความลึกไม่น้อย

                   กว่า 6  เมตร จากระยะผิวดิน ช่วงที่เหลือผนึกด้วยซีเมนต์จนถึงผิวดินเทคอนกรีตรอบเป็นชานบ่อ ขนาด 1.5  x
                   1.5 x 0.15 เมตร








                   สํานักทรัพยากรน้ําบาดาล เขต 10 อุดรธานี    3-812
                   กรมทรัพยากรน้ําบาดาล
   826   827   828   829   830   831   832   833   834   835   836