Page 38 - สารพิษในชีวิตประจำวัน
P. 38
29
วิธีปฏิบัติตัวเมื่อได้รับ สารเคมีจากการสูดดม
1. ได้กลิ่นผิดปกติให้รีบออกจากบริเวณนั้นไปสูดอากาศในที่โล่ง
2. ถ้าอยู่ภายในตัวอาคารเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท เพื่อให้ความเข้มข้นของแก๊สเจือจางลง
3. กระตุ้นการหายใจด้วยยาดมฉุนๆ
ตอนที่ 3.6 ของเด็กเล่น
ของเด็กเล่นมีส่วนสําคัญต่อการพัฒนาร่างกาย อารมณ์ สมาธิ สติปัญญาและช่วยต่อยอดความคิด
เสริมสร้างจินตนาการให้แก่เด็กๆ ได้ดี แต่สิ่งสําคัญที่เราไม่ควรละเลย คือ เรื่องของความปลอดภัยจาก
ของเด็กเล่นเด็ก เพราะของเด็กเล่นที่ดูไม่น่าจะทําร้ายใครได้นั้นอาจจะนําอันตรายที่คาดไม่ถึงมาสู่เด็กๆ ได้
เช่นกัน
ภาพที่ การสัมผัสของเล่นของเด็กเล็ก
ที่มาของภาพ http://www.kid4play.com/
สารอันตรายที่เจือปนอยู่ในของเด็กเล่น
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาล
รามาธิบดี ได้ทําการสํารวจของเด็กเล่นในจังหวัดต่างๆ ที่จําหน่ายในห้างสรรพสินค้าและตลาดทั่วไป จํานวน
173 ตัวอย่าง พบของเด็กเล่นเด็กที่มีระดับสารตะกั่วสูงกว่าความปลอดภัยตามมาตรฐานกําหนดจํานวน 31 ชิ้น
คิดเป็นร้อยละ 17.9 ของของเด็กเล่นที่ตรวจสอบ (ดังตารางที่ 1) ซึ่งของเด็กเล่นทั้ง 31 รายการที่มีอันตรายนี้ มี
ทั้งของเด็กเล่นที่ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และของเด็กเล่นที่ไม่มีเครื่องหมาย มอก. เช่น
หน้ากากมาร์คไรเดอร์ มีระดับค่าตะกั่วรวม 24,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ คือ
6,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือสูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 40 เท่า รถแข่งขนาดเล็ก ระดับค่าตะกั่วรวม 15,200
มิลลิกรัม/กิโลกรัม ลูกบอลพลาสติก ระดับค่าตะกั่วรวม 3,397 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และเกมตกปลาพลาสติก
พบสารแบเรียม 1,099 มิลลิกรัม/กิโลกรัมสารโลหะหนักเหล่านี้ถูกใช้เป็นส่วนประกอบของสี สารเคลือบเงา
และใช้เป็นวัสดุที่ผลิตของเด็กเล่นสําหรับเด็ก โดยอันตรายจากสารเคมีเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อพัฒนาการทาง
สมองและ IQ ของเด็ก มีพิษต่อผิวหนัง ทําลายระบบประสาท และกล้ามเนื้อ