Page 12 - วชาวทยาศาสตรทกษะโปรเเกรม_Neat (1)
P. 12
8
ตารางที่ 1.3 ความสูงของต้นไม้ สัปดาห์ที่ 1 ถึง 9
สัปดาห์ที่ ความสูงเฉลี่ยของต้นไม้(cm)
1 5
3 9
5 13
7 17
9 21
2.2 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ มี 5 ทักษะ ประกอบด้วย
1. ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulation Hypothesis) หมายถึง ความสามารถ
คิดหา คําตอบล่วงหน้าก่อนทําการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์
เดิมเป็นพื้นฐาน คําตอบ ที่คิดหาล่วงหน้านี้เป็นเรื่องที่ยังไม่ทราบหรือยังไม่เป็นหลักการ
กฏหรือทฤษฎีที่มีมาก่อนสมมติฐาน หรือ คําตอบที่คิดไว้ล่วงหน้า มักกล่าวเป็นข้อความที่
บอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เช่น ตัวแปรต้นกับ ตัวแปรตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้อาจ
ถูกหรือผิดก็ได้ โดยจะทราบได้ภายหลังการทดลองหาคําตอบ เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้าน
สมมติฐานเดิม ตัวอย่าง เช่น นักเรียนคนหนึ่งต้องการจะทราบว่า รูปทรงของภาชนะ
รูปแบบใดที่ใช้หุงต้มอาหารจะ ประหยัดพลังงานมากที่สุด เขาจึงใช้แสตนเลสมาทําเป็น
ภาชนะรูปทรงต่าง ๆ เช่น รูปทรงลูกบาศก์ รูปทรงกระบอก รูปทรงหกเหลี่ยม และทรง
กรวย โดยให้ภาชนะทุกรูปทรงมีปริมาตรเท่ากันในการศึกษาครั้ง นี้เขาตั้งสมมติฐานว่า
“ภาชนะหุงต้มที่มีรูปทรงกรวยจะประหยัดพลังงานมากกว่ารูปทรงลูกบาศก์ รูป
ทรงกระบอก และรูปทรงหกเหลี่ยม”
2. ทักษะการกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally) หมายถึง
ความสามารถ ในการกําหนดความหมายและขอบเขตของคําต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมมติฐาน
ที่ต้องการทดลองให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดได้ ตัวอย่างเช่น การทดสอบ
ความแข็งของหินโดยต้องการแบ่งหินออกเป็น 3 ประเภท คือ แข็งน้อย แข็ง ปานกลาง