Page 126 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 126

125




                        - ชั้นที่หนึ่ง: ชั้นหินไซอัล (sial)  เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด ประกอบด้วยแร่ซิลิกาและอะลูมินาซึ่ง
                        เป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง ส าหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะ

                        เปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปเท่านั้น ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้

                        - ชั้นที่สอง: ชั้นหินไซมา (sima)  เป็นชั้นที่อยู่ใต้หินชั้นไซอัลลงไป ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์

                        ประกอบด้วยแร่ซิลิกา เหล็กออกไซด์และแมกนีเซียม ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วทั้งพื้นโลกอยู่ใน
                        ทะเลและมหาสมุทร ซึ่งต่างจากหินชั้นไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะส่วนที่เป็นทวีป และยังมีความ

                        หนาแน่นมากกว่าชั้นหินไซอัล


                     แมนเทิล

                            แมนเทิล (mantle  หรือ Earth's  mantle)  เป็นชั้นที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกและแก่นโลก มีความ
                     หนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลวเรียกว่า หินหนืด (Magma) ท า

                     ให้ชั้นแมนเทิลมีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 800 - 4300°C ซึ่งประกอบด้วย

                     หินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์


                     แก่นโลก

                            แก่นโลก (Core) ความหนาแน่นของโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ท าให้โลกเป็นดาว

                     เคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้
                     เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งแก่นโลกมีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80% รวมถึงนิกเกิลและ

                     ธาตุที่มีน ้าหนักที่เบากว่าอื่นๆ เช่นตะกั่วและยูเรเนียม เป็นต้น แก่นโลกสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้น

                     ได้แก่
                            - แก่นโลกชั้นนอก (Outer  core)  มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 - 5,000 กิโลเมตร

                     ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพหลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 -

                     6400 มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว
                            - แก่นโลกชั้นใน (Inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร

                     มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 - 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ท าให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง

                     ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพเป็นของแข็ง มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0

                     แผ่นเปลือกโลก

                     (อังกฤษ: Plate tectonics; มาจากภาษากรีก " แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้น
                     เพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่

                     โครงสร้างนอกสุดของโลกประกอบด้วยชั้น 2 ชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นดินแข็ง (lithosphere)  ที่มี

                     เปลือกโลกและชั้นนอกสุดของแมนเทิลที่เป็นเย็นตัวและแข็งแล้ว ภายใต้ชั้นดินแข็งคือชั้นดินอ่อน

                     (aethenosphere)  ถึงแม้ว่ายังมีสถานะเป็นของแข็งอยู่ แต่ชั้นดินอ่อนนั้นมีความยืดหยุ่นค่อนข้างต ่าและ
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131