Page 30 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 30
29
2.1 ท าความสะอาดบริเวณผิวงานที่ต้องการวัด
2.2 เลือกใช้ปากวัดงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ต้องการ เช่น ถ้าต้องการวัดขนาดภายนอก
เลือกใช้ปากวัดนอก วัดขนาดด้านในชิ้นงานเลือใช้ปากวัดใน ถ้าต้องการวัดขนาดงานที่ที่เป็นช่องเล็ก ๆ
ใช้บริเวณส่วนปลายของปากวัดนอก ซื่งมีลักษณะเหมือนคมมีดทั้ง 2 ด้าน
2.3 เลื่อนเวอร์เนียร์สเกลให้ปากเวอร์เนียร์สัมผัสชิ้นงาน ควรใช้แรงกดให้พอดีถ้าใช้แรงมาก
เกินไป จะท าให้ขนาดงานที่อ่านไม่ถูกต้องและปากเวอร์เนียร์จะเสียรูปทรง
2.4 ขณะวัดงาน สายตาต้องมองตั้งฉากกับต าแหน่งที่อ่าน แล้วจึงอ่านค่า
3. เมื่อเลิกปฏิบัติงาน ควรท าความสะอาด ชะโลมด้วยน ้ามัน และเก็บรักษาด้วยความระมัดระวัง ในกรณี
ที่ไม่ได้ใช้งานนาน ๆ ควรใช้วาสลีนทาส่วนที่จะเป็นสนิม
คีม (TONG)
คีมมีอยู่หลายชนิด คีมที่ใช้กับขวดปริมาตรเรียกว่า flask tong คีมที่ใช้กับบีกเกอร์เรียกว่า beaker
tong และคีมที่ใช้กับเบ้าเคลือบเรียกว่า crucible tong ซึ่งท าด้วยนิเกิ้ลหรือโลหะเจือเหล็กที่ไม่เป็น
สนิม แต่อย่าน า crucible tong ไปใช้จับบีกเกอร์หรือขวดปริมาตรเพราะจะท าให้ลื่นตกแตกได้
3.การใช้งานอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ประเภทสิ้นเปลืองและสารเคมี
กระดาษกรอง (FILTER PAPER) เป็นกระดาษที่กรองสารที่อนุภาคใหญ่ออกจากของเหลวซึ่ง
มีขนาดของอนุภาคที่เล็กกว่า
กระดาษลิตมัส (LITMUS)เป็นกระดาษที่ใช้ทดสอบสมบัติความเป็นกรด-เบสของของเหลว
กระดาษลิตมัสมีสองสีคือสีแดงหรือสีชมพู และสีน ้าเงินหรือสีฟ้ า วิธีใช้คือการสัมผัสของเหลวลงบน
กระดาษ ถ้าหากของเหลวมีสภาพเป็นกรด (pH < 4.5) กระดาษจะเปลี่ยนจากสีน ้าเงินเป็นสีแดง และ
ในทางกลับกันถ้าของเหลวมีสภาพเป็นเบส (pH > 8.3) กระดาษจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน ้าเงิน ถ้าหาก
เป็นกลาง (4.5 ≤ pH ≤ 8.3) กระดาษทั้งสองจะไม่เปลี่ยนสี
สารเคมี หมายถึง สารที่ประกอบด้วยธาตุเดียวกันหรือสารประกอบจากธาตุต่างๆรวมกันด้วย
พันธะเคมีซึ่งในห้องปฏิบัติการจะมีสารเคมีมากมาย