Page 94 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 94
93
ในสภาพที่ไม่เหมาะสมกับการด ารงชีวิต เช่น เกิดความแห้งแล้ง หนาวเย็น หรือขาดแคลนอาหาร ตัวเมีย
จะผลิตไข่ที่ฟักออกมาเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย จากนั้นตัวผู้และตัวเมียเหล่านี้จะผสมพันธุ์กัน แล้วตัวเมีย
จะออกไข่ที่มีความคงทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว แมลงที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ ได้แก่
ตั๊กแตนกิ่งไม้ เพลี้ย ไรน ้า ในพวกแมลงสังคม เช่น ผึ้ง มด ต่อ แตน ก็พบว่ามีการสืบพันธุ์ในลักษณะนี้
เหมือนกัน แต่ในสภาวะปรกติไข่ที่ฟักออกมาจะได้ตัวผู้เสมอ
6.3 ชนิดของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของสัตว์ มี 2 ชนิด ดังนี้
1. การสืบพันธุ์ของสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน (Monoecious) โดยทั่วไปไม่สามารถผสมกัน
ภายในตัว ต้องผสมข้ามตัว เนื่องจากไข่และอสุจิจะเจริญไม่พร้อมกัน เช่น ไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือน
ดิน
รูปแสดงการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดราตัวอ่อนหลุดจากรังไข่ แล้วเจริญเติบโตต่อไป
2. การสืบพันธุ์ของสัตว์ที่มีเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่ต่างตัวกัน (Dioeciously) ในการ
สืบพันธุ์ของสัตว์ชนิดนี้มีการปฏิสนธิ 2 แบบ คือ
2.1 การปฏิสนธิภายใน (Internal Fertilization) คือ การผสมระหว่างตัวอสุจิกับไข่ที่อยู่ภายใน
ร่างกายของเพศเมีย สัตว์ที่มีการปฏิสนธิแบบนี้ ได้แก่ สัตว์ที่วางไข่บนบกทุกชนิด สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วย
น ้านม และปลาที่ออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาเข็ม ปลาหางนกยูง ปลาฉลาม
2.2 การปฏิสนธิภายนอก (External fertilization) คือการผสมระหว่างตัวอสุจิกับไข่ที่อยู่
ภายนอกร่างกายของสัตว์เพศเมีย การปฏิสนธิแบบนี้ต้องอาศัยน ้าเป็นตัวกลางให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่
เข้าไปผสมไข่ได้ สัตว์ที่มีการปฏิสนธิแบบนี้ ได้แก่ ปลาต่าง ๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน ้า และสัตว์ที่วางไข่ใน
น ้าทุกชนิด