Page 96 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 96
87
ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งเรียนรู้หลักในสถาบันอุดมศึกษา มีบทบาท หน้าที่
ส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่เปิดในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เป็นส าคัญ โดยการจัด
รวบรวมหนังสือและสื่อความรู้อื่น ๆ ในสาขาวิชาตามหลักสูตร ส่งเสริมช่วยเหลือการค้นคว้าวิจัยของ
อาจารย์และนักศึกษา ส่งเสริมพัฒนาการทางวิชาการของอาจารย์และนักศึกษาโดย จัดให้มีแหล่งความรู้
และช่วยเหลือจัดท าบรรณานุกรมและดรรชนีส าหรับค้นหาเรื่องราวที่ต้องการ แนะน านักศึกษาในการใช้
หนังสืออ้างอิงบัตรรายการและคู่มือส าหรับการค้นเรื่อง
ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย เน้นการให้บริการกับนิสิตนักศึกษาของวิทยาลัยนั้น ๆ แต่ก็มี
หลายแห่งที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปใช้บริการได้ตามข้อก าหนดของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยนั้น (ให้ค้นคว้า
ข้อมูลเพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ต)
ตัวอย่างเช่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยเปิด มีชื่อเรียกว่า
“ส านักบรรณสารสนเทศ” มีบริการทั้งในมหาวิทยาลัยส่วนกลาง (กทม.) ระดับภาค ที่ประชาชนมีโอกาสเข้า
ใช้บริการได้ โดยเสียค่าบ ารุงรายวัน จังหวัดที่เปิดให้บริการ ได้แก่ นครศรีธรรมราช เพชรบุรี นครสวรรค์
สุโขทัย อุดรธานี อุบลราชธานี ล าปาง จันทบุรี ยะลา และนครนายก เน้นเพื่อการเรียนของ นักศึกษา มสธ.
ตามหลักสูตรต่าง ๆ และหนังสือทั่วไป เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือเยาวชน
กิจกรรม
ให้ผู้เรียนยกตัวอย่างห้องสมุดในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย 1 แห่ง พร้อมทั้งบอกลักษณะการให้
บริการของห้องสมุด ได้แก่ สถานที่ตั้ง การเปิด - ปิด บริการ ค่าบริการ ส าหรับประชาชนทั่วไป ฯลฯ
หอสมุดแห่งชาติ
หอสมุดแห่งชาติของไทย สถาปนาขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระมหากษัตราธิราช ใน
พระบรมราชจักรีวงศ์ โดยการรวบรวมหอพระมณเฑียรธรรม หอพระสมุดวชิรญาณ และหอพุทธสาสน
สังคหะ เข้าด้วยกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ให้มีพระบรมราชโองการประกาศจัดการหอพระสมุดวชิรญาณ ให้เป็นหอสมุดส าหรับพระนคร เมื่อ
วันที่ 12 ตุลาคม พุทธศักราช 2448 และได้วิวัฒนาการเป็นส านักหอสมุดแห่งชาติปัจจุบัน
บทบาทและหน้าที่
1. ด าเนินการจัดหา รวบรวม และสงวนรักษาทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาการ ศิลปกรรม และ
วัฒนธรรมของชาติในรูปของหนังสือ ตัวเขียน เอกสารโบราณและจารึก หนังสือตัวพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ
โสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ผลิตจากในประเทศและต่างประเทศ