Page 13 - 400ปีกล้องโทรทัศน์_Neat
P. 13
การพัฒนากล้องโทรทรรศน์ของเคพเลอร์
การพัฒนากล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอได้รับการแนะน�าจาก โยฮันเนส เคพเลอร์ ในปี
ค.ศ. 1611 (พ.ศ. 2154) ที่ตีพิมพ์ในหนังสือ Dioptrice ของเคพเลอร์ได้ตั้งข้อสังเกตว่ากล้องโทรทรรศน์
ที่สร้างขึ้นจากการใช้เลนส์นูน 2 ตัว ภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้จะเป็นภาพที่กลับหัว
ประโยชน์ของการออกแบบนี้ตาม
ที่เคพเลอร์ออกแบบไว้ให้ขอบเขตมุมมอง
ที่กว้างและก�าลังขยายสูง จากค�าแนะน�า
ของเคพเลอร์นี้นักดาราศาสตร์ไม่ได้น�ามา
ใช้ในทันที อย่างไรก็ตามกล้องโทรทรรศน์
แบบเคพเลเรียน ไม่ได้รับการยอมรับ
จนกระทั่ง คริสทอฟ ซไชเนอร์ (Christoph
Scheiner) นักบวชนิกายเยซูอิชาวเยอรมัน
นักคณิตศาสตร์ที่มีความสนใจในกล้อง
โทรทรรศน์นี้และได้ตีพิมพ์หนังสือ Rosa
รูปที่ 12 บันทึกจุดบนดวงอาทิตย์ จากหนังสือ Ursina ของเขา ในปี ค.ศ. 1630 (พ.ศ.
Tres Epistolae ของซไชเนอร์ 2173)
ส�าหรับการศึกษาจุดบนดวงอาทิตย์ของซไชเนอร์ทดลองกับกล้องโทรทรรศน์ที่มีเลนส์นูน
เพียงชิ้นเดียว และเขาพบว่าเมื่อเขามองวัตถุโดยตรงผ่านกล้องโทรทรรศน์ดังกล่าวภาพนั้นถูกพลิก
กลับหัวกลับหาง แต่มันก็มีความสว่างมากและให้มุมมองที่มีขนาดใหญ่กว่าในกล้องโทรทรรศน์ของ
กาลิเลโอ ซึ่งเป็นไปตามที่เคพเลอร์ได้คาดการณ์ไว้ เนื่องจากในการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์
ภาพกลับหัวจะไม่มีปัญหา ข้อได้เปรียบนี้กลายเป็นที่รู้จักกันในฐานะ “กล้องโทรทรรศน์ทาง
ดาราศาสตร์ (Astronomical telescope)” และน�าไปสู่การยอมรับโดยทั่วไปของประชาคม
วิทยาศาสตร์ (Scientific Community) ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 17
400 ปี วิวัฒนาการกล้องโทรทรรศน์ 13