Page 98 - งานเครื่องกลเบื้องต้น
P. 98

93


                       5. ชุดท้ำยแท่น (Tail Stock) อยู่ตอนท้ายของแท่นเครื่อง สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้บน เครื่อง ชุด

               ท้ายแท่นประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนบนและส่วนล่าง เพื่อไว้ใช้สําหรับปรับเยื้องศูนย์ เพื่อกลึงเรียว


                       5.1ส่วนล่างของท้ายแท่น จะวางอยู่บนแท่นเลื่อน จะมีตัวจับยึดให้อยู่กับที่เวลาใช้งาน เพื่อป้องกัน

               ท้ายแท่นเคลื่อนที่ ช่วงหลังจะมีขีดสเกลไว้ให้ดูเวลาปรับเยื้องศูนย์เวลากลึงเรียว แต่ ไม่ละเอียดพอในการ

               ปฏิบัติงานจริงจะต้องใช้นาฬิกาวัดช่วย


                       5.2 ส่วนบนของท้ายแท่น ประกอบด้วยแกนเพลา สามารถเคลื่อนที่เข้าออกได้ด้วย แขนหมุน เพื่อใช้

               ป้อนยันศูนย์เพื่อยันศูนย์งาน หรือป้อนดอกสว่านเจาะงาน ที่แกนเพลาจะมีขีด บอกระยะภายในแกนเพลาจะ

               เป็นรูเรียวมาตรฐานมอส เพื่อใช้จับยึดยันศูนย์ จับยึดหัวจับดอกสวาน หรือดอกสว่านก้านเรียว
























                                                   รูปที่ 4.12 ชุดท้ายแท่น


                                                            +


                       6. ชุดแท่นเลื่อน (Carriage) อยู่บนแท่นเครื่อง สามารถเคลื่อนที่ซ้ายขวาบนแท่นเครื่อง เพื่อใช้ใน

               การกลึงปอกงาน สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยมือและอัตโนมัติ ประกอบด้วยส่วนประกอบ ที่สําคัญ 2 ส่วน คือ

                                                                                ํ
                       6.1 แคร่คร่อมหรืออานม้า (Saddle) เป็นส่วนที่วางอยู่บนสันตัววีคว่าบนแท่นเลื่อน เพื่อบังคับการ
               เคลื่อนที่ซ้าย-ขวา จะมีรูปร่างเหมือนอักษรตัว H บนอานม้าจะมีแท่นตัดขวางวางอยู่


                       6.2 กล่องเฟือง (Apron) เป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าของแท่นเลื่อนจะยึดติดอยู่กับแคร่คร่อม บนกล่อง

               เฟือง จะมีแขนหมุนกลึงปอก คันโยกกลึงอัตโนมัติ คันโยกสําหรับกลึงเกลียว
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103