Page 34 - <4D6963726F736F667420576F7264202D20C3D2C2A7D2B9BBC3D0A8D3BBD53534E1A1E9E4A220322DCAE8A7E2C3A7BED4C1BEEC2E646F6378>
P. 34
๓๔
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริและโครงการพิเศษ
ดําเนินการทั้งหมด 63 โครงการ และกรมหม่อนไหม
ดําเนินการเป็นหน่วยงานหลัก จํานวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการศูนย์
ศิลปาชีพหม่อนไหมบ้านห้วยเดื่อ โครงการพัฒนาอาชีพการปลูกหม่อน
เลี้ยงไหมและทอผ้าไหมตามแนวพระราชดําริพระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภา
และโครงการพัฒนาศูนย์ศิลปาชีพอีสานใต้ และเป็นโครงการที่กรมให้การ
สนับสนุนจํานวน ๖๐ โครงการ โดยดําเนินการฝึกอบรมให้ความรู้แก่
เกษตรกรสมาชิกโครงการทั่วประเทศและผู้ต้องขังในเรือนจําจ ในด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การสาวไหม การ
ฟอกย้อมสีเส้นไหมด้วยสีเคมีและสีธรรมชาติ การทอผ้าไหม การออกแบบลวดลายผ้าไหมและการแปรรูป
ผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหม สร้างโรงเลี้ยงไหมกลางและปรับปรุงอาคารแปรรูปผลิตภัณฑ์ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การ
ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จํานวน 2,474 ราย ตลอดจนดูแลรักษาแปลงหม่อน ตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินในแปลง
หม่อน ให้บริการตรวจรับรองผ้าไหมตามมาตรฐานตรานกยูงพระราชทานสีทอง ออกติดตามผล ให้คําแนะนําด้าน
การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหมแก่สมาชิกโครงการฯ เป็นประจําอย่างต่อเนื่อง ใน
พื้นที่ทั่วประเทศ
โครงการตามนโยบายกรม
๑. โครงการศูนย์ต้นแบบพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม: ดําเนินการเลี้ยงไหม ๑๕ รุ่น/ปี ในศูนย์หม่อนไหม
เฉลิมพระเกียรติฯ ๕ ศูนย์ ได้แก่ แพร่ กาญจนบุรี หนองคาย อุบลราชธานี และนครราชสีมา เพื่อหารูปแบบการ
ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่เหมาะสมกับเกษตรกร และเพิ่มความสามารถของการเลี้ยงไหม ให้มีจํานวนรุ่นของการเลี้ยง
ไหมสูงขึ้นต่อปี โดยมีเป้าประสงค์หลัก เพื่อให้ได้รูปแบบการเพิ่มผลผลิตเส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านให้มีปริมาณสูง
และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้ผลผลิตหม่อนไหมเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี