Page 77 - JMSD VOL.1 No.1 2016 _Neat
P. 77

Journal of MCU Social Development
        Vol.1 No.1 January - April 2016



               ส่วนสิงห์ที่ราวบันไดหน้าประตูทางขึ้นโบสถ์ด้านข้างท�าด้วยปูนปั้นข้างละ 2 ตัว  โดยทั่วไปของ
        สิงห์วัดจอมศรีมีลักษณะทางศิลปกรรมคล้ายกับสิงห์ที่พบตามศาสนสถานในเขตล้านนา  ตัวสิงห์มีเครื่อง

        ประดับ  พู่ขนและลวดลายบนล�าตัว  ถูกทาด้วยสีทอง  สิงห์ลักษณะนี้เป็นลักษณะของสิงห์พม่าซึ่งจะมีล�า
        ตัวค่อนข้างใหญ่ยักษ์  มักจะเป็นสีขาว  ขนส่วนหัวจะชี้ตั้งขึ้นคล้ายกับเปลวไฟและขนแผงคอจะเป็นเปลว
        เรียงกันลงไป เป็นชั้นๆ รูจมูกใหญ่และบานเหมือนหมู  ขาจะประดับด้วยลายคล้ายกับเปลวไฟ  หางยาว

        ตรงพู่มักจะตกแต่งด้วยลายกนก  มักจะสร้างไว้ตามประตูเข้าวัดหรือทางเข้าอาคาร  ซึ่งมีการสร้างอย่าง
        แพร่หลายในดินแดนล้านนาหลังจากที่อาณาจักรล้านนาตกเป็นประเทศราชของพม่าและในช่วงที่มีชาวพม่า

        และชาวไทใหญ่เข้ามาท�าป่าไม้ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 24 จนถึงช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25 (เชษฐ์
        ติงสัญชลี, 2555: 396)
               นอกจากนี้  ภายในบ้านนาสียังมีพระพุทธรูปพระเสี่ยงเป็นพระพุทธรูปส�าริด  ปางมารวิชัย  ศิลปะ

        ล้านช้าง  ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 30 เซนติเมตร  ส�าหรับสถานที่ประดิษฐานพระเสี่ยงนั้นไม่เป็นที่
        เปิดเผยข้อมูลของชุมชน  เพราะจะมีการหมุนเวียนที่ประดิษฐานไปเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรม แต่

        จะอัญเชิญออกมาให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้สักการะและยกเสี่ยงทายเพียง 2 ครั้งในรอบปีเท่านั้น  คือ
        ในงานบุญประจ�าปีของวัดจอมศรีที่จัดขึ้นในช่วงเดือน 3  และวันที่ 13 เมษายน เพื่อสรงน�้าช่วงเทศกาล
        สงกรานต์ (สิงห์  ไชยคีนี, 2558)



        สภาพปัญหาการละเลยการอนุรักษ์และพัฒนาโบสถ์วัดจอมศรี

               สภาพปัญหาการละเลยการอนุรักษ์และพัฒนาโบสถ์วัดจอมศรีที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  ผู้เขียนจึงแยก
        ปัญหาของโบสถ์วัดจอมศรีออกเป็น 4 ประเด็น  คือ
               1. ปัญหาการละเลยการอนุรักษ์และพัฒนาของโบสถ์วัดจอมศรีในระดับนโยบาย  หน่วยงาน

        ราชการโดยกรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม  ยังขาดการให้ข้อมูลหรือความรู้ที่เกี่ยวข้องในโบสถ์วัดจอม
        ศรีแก่ชาวบ้าน   โดยไม่มีการอธิบายถึงรูปแบบกฎหมาย  อาทิ พื้นที่อาณาเขตที่แน่นอน การท�าลายสมบัติ

        ของชาติและโทษที่จะได้รับอย่างละเอียดเพื่อไม่ให้เกิดความเรื่องราวหรือปัญหาในภายหลัง ขาดการในวิธี
        การจัดอบรมแบบประสานงานกับหน่วยงานหลายฝ่าย  และทุกครั้งที่อบรมต้องให้ชาวบ้านชี้แจงสาเหตุ
        ปัญหาและความต้องการ  เพื่อให้รัฐมีส่วนร่วมเพื่อหาทางออกให้กับประชาชน

               โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการขึ้นทะเบียนโบสถ์วัดจอมศรีเป็นโบราณสถานของชาติ  ยังไม่มีความ
        ชัดเจนทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ  พระอธิการบัด  สุวโจ  เจ้าอาวาสวัดจอมศรีให้ข้อมูลว่า

        เคยมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงวัฒนธรรมแต่ไม่รู้ว่าหน่วยงานไหนมาท�าการส�ารวจและเก็บข้อมูลโบสถ์วัด
        จอมศรีไปหลายปีแล้ว  แต่ก็ไม่มีเอกสารหรือการแจ้งกลับมายังวัดว่าได้มีการด�าเนินการถึงขั้นใดแล้ว  ทาง
        วัดจึงไม่สามารถด�าเนินการใดๆ เกี่ยวกับโบสถ์ได้  เพราะเกรงว่าจะขัดต่อกฎหมายหากท�าการขึ้นทะเบียน

        เป็นโบราณสถานของชาติแล้ว (พระอธิการบัด  สุวโจ, 2558)



                                                68
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82