Page 6 - JMSD VOL.1 No.1 2016
P. 6
บทความที่ 5 เรื่อง “การขัดกันแห่งผลประโยชน์” โดย ธนยศ ชวะนิตย์ บทความนี้ ต้องการนำาเสนอ
สถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้อิทธิพลตามตำาแหน่งหรืออำานาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการตัดสินใจโดย
แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้องเป็นการขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์
ส่วนรวมซึ่งรัฐที่เป็นผู้มีอำานาจหน้าที่ในการตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ ของรัฐให้กระทำาไปเพื่อประโยชน์ส่วน
รวมและกำาหนดบทลงโทษกับผู้กระทำาผิดอย่างหนักเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและสังคม
บทความที่ 6 เรื่อง“แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาโบสถ์วัดจอมศรีเชิงบูรณาการตามหลักพุทธธรรม”
โดย ธีระวัฒน์ แสนคำา ได้นำาเสนอแนวทาง การบูรณาการศาสตร์ทั้งหลายเข้ากับหลักพุทธธรรม โดยใช้
อปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการ อันจะส่งผลให้เกิดแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาที่เป็นรูปธรรมโดยการมี
ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากยิ่งขึ้น สามารถส่งผลถึงการพัฒนาที่มีมิติ สามารถต่อยอดหรือขยายผลออกไปได้
กว้างขวางและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
บทความที่ 7 เรื่อง“ความเตี้ยกับการบวชเป็นพระในสังคมไทย : บทวิเคราะห์ด้วยเกณฑ์และคุณสมบัติ
การบวชในพระพุทธศาสนา” โดย พระปลัดระพิน พุทธิสาโร ได้นำาเสนอข้อเท็จจริงคุณสมบัติทางกายภาพ
ไม่ได้เป็นเงื่อนไขต่อการศึกษาและเรียนรู้พระพุทธศาสนาโดยชี้ให้เห็นว่าพุทธบริษัทจะต้องมีหน้าที่ทั้งในส่วน
ของการใช้ และบังคับใช้พระธรรมวินัย ทุกฝ่ายต้องมีส่วนช่วยกันในการทำาให้พระธรรมวินัยมีความหมาย
มีประโยชน์และช่วยกันรักษาจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรตามเกณฑ์และแนวทางพระพุทธศาสนา
ที่ถูกต้อง เหมาะสมได้อย่างแท้จริง
บทความที่ 8 เรื่อง “บทบาทของอาจารย์กับนักเรียน GEN Y” โดย ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์ ได้นำา
เสนอ แนวคิดการบูรณาการการบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น พรหมวิหาร 4, กัลยาณมิตร
ธรรม 7 เข้ามาช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ของความเป็นครูอาจารย์ จะช่วยขัดเกลาให้ลูกศิษย์เป็นผู้ที่มีทั้งความ
รู้และความประพฤติที่ดีมีทั้งความรู้และความประพฤติที่ดี จะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เกิดประสิทธิผล ทั้งกับตัวครูอาจารย์และลูกศิษย์
บทความที่ 9 เรื่อง “การพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน” โดย พระครูสังฆรักษ์จักกฤษณ์,ดร.
ผู้เขียนได้นำาเสนอหลักการพัฒนาวัดตามแนวทางพระพุทธศาสนา เพื่อก่อให้เกิดต้นแบบเป็นสถานที่พัฒนา
ทุนมนุษย์วิถีพุทธสร้างแนวทางการพัฒนาเชิงพุทธและให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้มีประสิทธิผลสูงพัฒนา
วัดทำาให้เป็นที่ร่วมสร้างศรัทธาที่มีแนวทางที่ดีจะทำาให้ทุกคนเป็นสัตบุรุษสามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ รอบด้าน
ได้อย่างเป็นสุข เปี่ยมไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนา
บทความที่ 10 เป็นบทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง ก้าวแรกที่เท่าเทียม (Giving Kids a Fair Chance)
เหมาะกับนักวิชาการ นักการศึกษา และผู้ที่สนใจแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายทางการศึกษา หรือผู้สนใจทั่วไป
สามารถนำาไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษา วิเคราะห์ หรือจัดทำานโยบายทางการศึกษาในทุกระดับได้ แม้ใน
โลกอุดมคติเรา ควรมีนโยบายหรือโครงการทางการศึกษาที่มีคุณภาพสำาหรับเด็กทุกคน แต่ในโลกของความ
เป็นจริงเรามีทรัพยากรจำากัด ดังนั้นเราจึงจำาเป็นต้องตัดสินใจว่าจะใช้ทรัพยากรหรืองบประมาณที่มีอยู่อย่างไร
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประโยชน์ทางการศึกษาสูงสุด
หวังอย่างยิ่งว่าวารสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้างตามสมควรหากผู้อ่านจะมีข้อเสนอ
แนะใดในการปรับปรุงวารสารนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น กองบรรณาธิการขอน้อมรับไว้ด้วยความยินดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โกนิฏฐ์ ศรีทอง
บรรณาธิการบริหาร
(6)