Page 77 - JMSD Vol.1 No.3 -2016
P. 77
วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2559
สังคมสงเคราะห์ถูกใช้เพื่อการแก้ไขความขัดแย้งและความตึงเครียดระหว่างกัน เพื่อหล่อหลอม
ประชาชนที่ถูกตราหน้าว่า “เบี่ยงเบน” ให้กลับคืนสู่สังคมได้ และเพื่อสร้างสรรค์ความเป็นนำ้าหนึ่ง
ใจเดียวกันระหว่างประชาชนกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมของเขา ด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเข้าหา
กันและกัน บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ตรงจุดนี้คือ การควบคุมประชาชนที่ถูกผลักออกไปและ
ปฏิรูปโครงสร้างสังคมที่สูญเสียไปนั่นเอง ขณะที่รูปแบบความขัดแย้งมุ่งไปที่ประเด็นอำานาจและการ
ถือครองอำานาจที่เป็นปัญหาอันเป็นผลมาจากการกระจายอำานาจไม่สมดุล จากประเด็นนี้บทบาท
ของนักสังคมสงเคราะห์จะต้องรับมือกับความอยุติธรรมทางสังคม และพิทักษ์สิทธิของผู้ที่ถูกเอา
รัดเอาเปรียบและอ่อนแอ เพราะเป้าหมายของนักสังคมสงเคราะห์คือการเปลี่ยนผ่านอำานาจและ
การใช้อำานาจเพื่อการบริหารจัดการทางสังคม
สัมพันธภำพที่เป็นไปได้ 4 รูปแบบ (Four Possible Relationship)
สัมพันธภาพระหว่างสังคมสงเคราะห์กับสถาบันทางสังคมอาจทำาความเข้าใจได้จากรูปแบบ
4 ประการ นี้ (Cowger, 1977) คือ
1. สังคมสงเคราะห์ในฐานะตัวแทนของการควบคุมทางสังคมในนามของสถาบันทางสังคม
2. สังคมสงเคราะห์ในฐานะผู้ปฏิรูปสังคม
3. สังคมสงเคราะห์ในฐานะผู้แยกขาดจากสังคม
4. สังคมสงเคราะห์ในฐานะสื่อกลางระหว่างปัจเจกบุคคลกับสถาบันทางสังคม
แต่ละตำาแหน่งแห่งที่ชี้ให้เห็นถึงสัมพันธภาพระหว่างสังคมสงเคราะห์กับสถาบันทางสังคม
ที่แตกต่างกัน แต่ละอย่างให้ความหมายที่แตกต่างกันในการปฏิบัติงานทางสังคมสงเคราะห์ สังคม
ในฐานะเครื่องมือขัดเกลาทางสังคมโดยเน้นไปที่การควบคุมทางสังคม (Brenda DuBois and
Karla Krogsrud Miley, 2005) ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่า ความดีสาธารณะถูกให้ความสำาคัญเหนือ
กว่าความต้องการของปัจเจกบุคคล อีกประการหนึ่ง ขณะที่ผู้ปฏิรูปสังคมได้ใช้การปฏิรูปทาง
สังคมสงเคราะห์วิชาชีพเพื่อตอบสนองต่อปัญหา โดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ และ
ท่าทีที่รุนแรงอาจจะทำาให้พันธมิตรที่มีศักยภาพแปลกแยกออกไป และสะกัดกั้นความพยายาม
ที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมได้
ยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่นักสังคมสงเคราะห์บางคนอาจจะผลักดันแบบโดดเดี่ยวในการ
แทรกแซงการบำาบัดรักษาโรคและสงวนท่าทีแบบกลาง ๆ ในความสัมพันธ์กับสังคม ตำาแหน่งแห่งที่
ลักษณะนี้ดูเหมือนจะไม่คงเส้นคงวานักกับอาณัติด้านความยุติธรรมทางสังคมอย่างมืออาชีพ บทบาท
โซ่ข้อกลางโดยสัดส่วนมีความใกล้เคียงกันมากกับแนวคิดทางสังคมสงเคราะห์ ในฐานะกระบวนการ
เสริมพลังอำานาจที่ทำางานเป็นหุ้นส่วนกันกับผู้ใช้บริการ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง
แก่ตัวปัจเจกบุคคลและสิ่งแวดล้อมทางสังคมของเขา ยิ่งไปกว่านั้น ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ
พื้นฐานของหุ้นส่วนกับการเสริมพลังอำานาจสามารถเปลี่ยนผ่านวิถีทางกลยุทธ์การทำางานของนัก
สังคมสงเคราะห์ที่สัมพันธ์กับการควบคุมทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้
69