Page 100 - JMSD Vol.1 No.2 - 2016
P. 100

Vol.1 No.2 May - August 2016
                Journal of MCU Social Development

                        3. จุกผม ส�าหรับหญิงอายุ 14-15 ปี ผมเป็นกระบังไว้ข้างหน้า ข้างหลังเอาไว้เปีย
                        4. ขอดกะตอก ส�าหรับหญิง อายุ 16-17 ปี ไว้ผมยาว ผูกผมแบบเชือกเงื่อนตาย เอา
                 ชายผมไว้ข้างขวา
                        5. ยอดซอย ส�าหรับหญิง อายุ 16-17 ปี ไว้ผมยาว ผูกผมแบบเชือกเงื่อนตายแต่เอาชาย
                 ผมไว้ทางซ้ายท�าผมเป็นโบว์ 2 ข้าง
                        6. ปั้นเกล้าซอย ส�าหรับหญิงอายุ 19-20 ปี ไว้ผมยาว ผูกผมเหมือนผูกเนคไทหูกระต่าย
                 แต่มีหางยาวออกมาทางขวา
                 7. ปั้นเกล้า หรือปั้นเกล้าถ้วน ส�าหรับสาวอายุ 20 ปีขึ้นไป ผมต้องยาวมากม้วนเป็นกลุ่มไว้ข้าง
                 หน้าแบบปั้นเกล้าซอย แต่ไม่มีหางยาวออกมา
                 8. ปั้นเกล้าตก แบบผมส�าหรับไว้ทุกข์ของหญิงหม้ายที่สามีตาย ศพยังอยู่ที่บ้านจะปล่อยทรงผม
                 ไม่ปั้นเกล้า ไม่แต่งเครื่องประดับ เพื่อเป็นการไว้ทุกข์ จนถึงเผาศพและพิธีเอาผีขึ้นเรือนแล้ว ปั้น
                 เกล้าตก คือการท�าให้กลุ่มผมห้อยอยู่ที่ท้ายทอย


                 บทสรุป

                        วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตหรือการด�าเนินชีวิต ซึ่งหมายรวมถึงความคิด  ศิลปะ  วรรณคดี
                 ดนตรี ปรัชญา ศีลธรรม  จรรยา  ภาษา  กฎหมาย  ความเชื่อ  ขนบธรรมเนียมประเพณีและ
                 สิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น  ซึ่งได้ถ่ายทอดให้กับคนรุ่นต่อ ๆ มา เป็นเรื่องของการเรียนรู้จากคน
                 กลุ่มหนึ่งไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่ง  ซึ่งถ้าสิ่งใดดีก็เก็บไว้  สิ่งใดควรแก้ก็แก้ไขกันให้ดีขึ้น  เพื่อจะได้
                 ส่งเสริม ให้มีลักษณะที่ดีประจ�าชาติต่อไป  ในลักษณะนี้วัฒนธรรมจึงเป็นการแสดงออกซึ่งความ
                 เจริญงอกงาม  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน วัฒนธรรม คือ
                 การด�าเนินชีวิตที่แสดงออกถึงความเจริญงอกงาม  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ความกลมเกลียว
                 ความก้าวหน้า และศีลธรรมของประชาชน “การสร้างอาคารสมัยใหม่นี้เป็นเกียรติของผู้สร้างเพียง
                 คนเดียว แต่โบราณสถานนั้นเป็น เกียรติของชาติ อิฐเพียงแผ่นเดียวก็มีค่า ควรที่เราจะได้ช่วยกัน
                 รักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์แล้วประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย” (พระ
                 ราชด�ารัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2504)
                        จากพระราชด�ารัสฯ ดังกล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า การรักษามรดกทางวัฒนธรรม
                 คือ การรักษาชาติ ถ้าเรา สูญวัฒนธรรมก็เท่ากับเราสูญชาตินั่นเอง “ วัฒนธรรมไทย ” คือ
                 เอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย เป็นรากฐานการสร้างสรรค์ความสามัคคี และความมั่นคงของ
                 ชาติ เป็นสิ่งที่แสดงถึงศักดิ์ศรี เกียรติยศและความภาคภูมิใจร่วมกันของคนไทย ฉะนั้น จ�าเป็นจะ
                 ต้องส่งเสริมให้ วัฒนธรรมไทยมีความเจริญก้าวหน้า เป็นเครื่องมือส�าคัญในการสร้างความมั่นคง
                 ทางสังคม และคุณภาพชีวิตคนไทย การรักษาและป้องกันวัฒนธรรม คือ การรักษาจิตวิญญาณ
                 ของความเป็นชาติ การเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีงามของชาวไทยทรง
                 ด�า เป็นการรักษาและประพฤติตามแนวทางวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยการใช้หลักธรรมทางศาสนา
                 เป็นแกนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สืบทอดและพัฒนาภาษาถิ่น ภาษาชาติรวมทั้งกริยามารยาท
                 ที่ดี เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง สามารถอยู่ร่วมในสังคมอย่างสันติ เป็นการรักษารูปแบบศิลปะ

                  92
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105