Page 119 - JMSD Vol.1 No.2 - 2016
P. 119

วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
                                                                   ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2559

                 “...สาระส�าคัญในค�าตอบของฮาเบอร์มาสต่อปัญหาระเบียบสังคม อยู่ที่การจัดวางองค์ประกอบ
                 ที่แตกต่างของทฤษฎีเหล่านี้ทั้งหมดขึ้นมาใหม่...ฮาเบอร์มาสกล่าวว่า ส่วนใหญ่แล้วการกระท�า
                 ของมนุษย์สอดคล้องกับค�าพูด (speech) หรือการใช้ภาษาเสมอ เมื่อใดก็ตามที่ผู้กระท�าการ ใช้
                 ภาษาสอดคล้องกับการกระท�า (หรือค�าพูด) ของตนบนพื้นฐานของการใช้เหตุผลที่ดี เขาเรียก
                 พันธกิจเหล่านี้ว่า “การอ้างความสมเหตุสมผล”...การอ้างความสมเหตุสมผลคือ พันธกิจในการ
                 อธิบายการกระท�าและค�าพูดของคนคนหนึ่งที่มีต่อผู้อื่น มีหน้าที่เชิงปฏิบัติ เพราะท�าหน้าที่ชี้น�า
                 การกระท�าของผู้กระท�าการทางสังคม...”


                        การอธิบายข้างต้นนี้ เป็นการแสดงแนวคิดที่เป็นฐานรากของทฤษฎีที่บรรลุวุฒิภาวะของ
                 ฮาเบอร์มาส ซึ่งเป็นพื้นฐานของทฤษฎีความหมายและความเป็นเหตุเป็นผล และทฤษฎีทางด้าน
                 สังคม ศีลธรรม การเมือง และกฎหมายของเขาด้วยเช่นกัน


                        ตอนที่ 3 โครงกำรวิจัยของฮำเบอร์มำส
                        วัตถุประสงค์หลักของหนังสือเล่มนี้ ฟินเลย์สันต้องการน�าเสนอภาพกว้างของโครงการ
                 วิจัยทางสังคมที่ฮาเบอร์มาสพัฒนาขึ้น จ�านวน 5 โครงการ ได้แก่
                        1)  โครงการทฤษฎีปฏิบัติการทางภาษาของความหมาย
                        2)  โครงการทฤษฎีความมีเหตุผลเชิงสื่อสาร
                        3)  โครงการทฤษฎีสังคม
                        4)  โครงการจริยศาสตร์การถกเถียงพูดคุย
                        5)  โครงการทฤษฎีการเมือง ประชาธิปไตยและกฎหมาย
                        ผู้เขียนน�าเอาส่วนต่างๆ ในงานที่ฮาเบอร์มาสพัฒนาขึ้น มาประกอบเข้าด้วยกันภายใต้
                 บริบทเดียวกัน และน�าเสนอภาพรวมความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของแต่ละโครงการ แม้ว่าแต่ละ
                 โครงการจะมีความเป็นอิสระต่อกันและให้การสนับสนุนต่อพื้นที่ทางความรู้ที่แตกต่างกัน อย่างไร
                 ก็ตาม โครงการต่างๆ ยังคงมีความสัมพันธ์ที่เป็นระบบต่อกันทั้งหมดไม่มากก็น้อยในเวลาเดียวกัน
                 รายละเอียดของแต่ละโครงการ ผู้เขียนได้น�าเสนอไว้ตั้งแต่บทที่ 3 จนถึงบทที่ 8 โดยมีสาระสังเขป
                 ดังต่อไปนี้
                        บทที่ 3 โครงกำรควำมหมำยเชิงปฏิบัติกำร ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับ ความหมาย (mean-
                 ing) ว่าความหมายมี 2 ประเภท ได้แก่ ความหมายเชิงบ่งบอกการกระท�า (เชิงปฏิบัติการ) และ
                 ความหมายเชิงประพจน์ (propositional) ซึ่งหน้าที่เชิงปฏิบัติการของการพูดคือ การกระตุ้นให้
                 เกิดฉันทามติที่มีเหตุมีผล   โดยที่การอ้างความสมเหตุสมผลแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) อ้าง
                 เพื่อความจริง 2) อ้างเพื่อความถูกต้อง และ 3) อ้างเพื่อความจริงใจ
                        บทที่ 4 โครงกำรทฤษฎีทำงสังคม ซึ่งกล่าวถึงระเบียบสังคมว่า ระเบียบสังคมต้องวาง
                 อยู่บนความหมายและความสมเหตุสมผล และความเป็นหนึ่งเดียวกันของโลกชีวิต (lifeworld)
                 ซึ่งจะถูกธ�ารงรักษาไว้ด้วยการสื่อสารและการถกเถียงพูดคุยกัน
                        บทที่ 5 ทฤษฎีสภำวะใหม่ของฮำเบอร์มำส โดยฮาเบอร์มาสกล่าวถึง สภาวะสมัยใหม่



                                                                                          111
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124