Page 143 - แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าปี 60
P. 143
เทศบัญญัติเทศบาลนครปากเกร็ด
เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. 2546
โดยที่เป็นการสมควรตราเทศบัญญัติ ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตเทศบาล
นครปากเกร็ด
อาศัยอ�านาจตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราช-
บัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจ�ากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 และมาตรา 50
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระท�าได้โดยอาศัยอ�านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบ
กับมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 เทศบาลนครปากเกร็ด โดยได้รับความเห็นชอบจาก สภา
เทศบาล และโดยอนุมัติของผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี จึงตราเทศบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. เทศบัญญัตินี้เรียกว่า “เทศบัญญัติเทศบาลนครปากเกร็ด เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อย
สัตว์ พ.ศ. 2546”
ข้อ 2. เทศบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด นับแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ส�านักงานเทศบาลนครปากเกร็ด แล้วเจ็ดวัน
ข้อ 3. บรรดาเทศบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ค�าสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในเทศบัญญัตินี้ หรือ
ซึ่งขัด หรือแย้งกับเทศบัญญัตินี้ ให้ใช้เทศบัญญัตินี้แทน
ข้อ 4. ในเทศบัญญัตินี้
“การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บ�ารุงรักษา ตลอด
จน ให้อาหารเป็นอาจิณ
“การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่
เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม
“เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์
“สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือ ที่เลี้ยงสัตว์อื่นที่มีการควบคุม
ของเจ้าของสัตว์
“ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่ หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชน
สามารถใช้ประโยชน์ หรือใช้สัญจรได้
“เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกเทศมนตรีนครปากเกร็ด
“เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราช-
บัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีอ�านาจ
หน้าที่ปฏิบัติการตามเทศบัญญัตินี้
138 แนวทางการดำาเนินงานป้องกันควบคุม
โรคพิษสุนัขบ้า