Page 14 - นาฏยศัพท์ศิลป์
P. 14
11
นาฏยภาษา
นาฏยภาษา
นาฏยภาษาหรือภาษาท่า หมายถึง การสื่อความหมายหรือสื่อสารให้เข้าใจกัน โดยใช้
กิริยาท่าทางการร าในทางนาฏศิลป์ เรียกว่า ร าบท หรือร าตีบท หรือ การแสดงท่าร าแทน
ค าพูด รวมทั้งการแสดงอารมณ์ด้วย การร าบทเป็นการใช้ภาษาที่พัฒนามาจากท่าทางโดย
ธรรมชาติ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ภาษาท่าที่ใช้แทนค าพูด ภาษาท่าที่
แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก และภาษาท่าที่เลียนแบบกิริยาท่าทางของสัตว์
ภาษาท่าที่ใช้แทนค าพูด
1. ตัวเรา (ฉัน) - จีบหงายมือซ้าย จากนั้นดึงมือจีบมาไว้ที่กลางอก แนบตัว (จะต้อง
เป็นมือซ้ายเท่านั้น)
2. ตัวท่าน - (ระดับสูงกว่า) แบมือ ปลายนิ้วทั้งสี่ ชี้ไปที่บุคคลที่เราพูดด้วย มือสูงระดับ
อก
3. เธอ - (ระดับเท่ากัน) ชี้นิ้วไปยังบุคคลนั้น
4. เขา - ชี้ไปยังทิศที่คาดว่าเขาอยู่
5. ท่าน – (บุคคลที่ 3 ที่กล่าวถึง) แบมือ ตั้งปลายนิ้วขึ้น ยกมือสูงระดับวงบนข้างหน้า
หรือซ้ายขวา
6. พระองค์ - พนมมือ ตั้งสูงระดับศีรษะข้างซ้ายหรือขวา
7. พูด, กล่าว กระท าได้ใน 2 ลักษณะ คือ
- มือข้างใดข้างหนึ่ง ชี้ที่ปาก
- มือข้างใดข้างหนึ่ง จีบมือที่ปากแล้วม้วนออกไป