Page 71 - ทักษะการเรียนรู้
P. 71
61
4. ช่วยกันสรุปขุมความรู้ที่สกัดได้จากเรื่อง ซึ่งมีจ านวนหลายข้อ ให้กลายเป็นแก่นความรู้
ซึ่งเป็นหัวใจที่ท าให้งานประสบผลส าเร็จ
5. ให้แต่ละกลุ่ม คัดเลือกเรื่องเล่าที่ดีที่สุด เพื่อน าเสนอในที่ประชุมใหญ่
6. รวมเรื่องเล่าของทุกคน จัดท าเป็นเอกสารคลังความรู้ของกลุ่ม หรือเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซด์
เพื่อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ และน ามาใช้ประโยชน์ในการท างาน
สกัดขุมความรู้และแก่นความรู้
1. ขุมความรู้ ในการฟังเรื่องเล่านั้น ผู้ฟังจะต้องฟังอย่างตั้งใจ ฟังอย่างลึกซึ้ง หากไม่เข้าใจหรือ
ได้ยินไม่ชัดเจน สามารถซักถามเมื่อผู้เล่า (คุณกิจ) เล่าจบแล้ว ในบางช่วง บางตอน ที่ไม่ชัดเจนได้ ซึ่งจะมี
ผู้บันทึก (คุณลิขิต) ช่วยบันทึกเรื่องเล่าและอ่านบันทึกให้ที่ประชุมฟัง อีกครั้งหนึ่งเพื่อสอบทานการจด
บันทึกกับการเล่าเรื่องของผู้เล่า (คุณกิจ) ให้สอดคล้องตรงกัน ผู้อ านวยการประชุม (คุณอ านวย) จะช่วย
ให้ผู้ฟังสกัดเอาวิธีการปฏิบัติของผู้เล่า (คุณกิจ) ที่ท าให้งานส าเร็จออกมา วิธีการกระท าที่สกัดออกได้
เรียกว่าขุมความรู้ ผู้ฟังแต่ละคนจะเขียนขุมความรู้ออกโดยใช้กระดาษแผ่นน้อยเขียน 1 ขุมความรู้ต่อ
กระดาษ 1 แผ่น ไม่จ ากัดจ านวนว่าแต่ละคนจะเขียนได้กี่ขุม กี่แผ่น ขึ้นอยู่กับทักษะการฟังและ
ความสามารถในการจับประเด็นของแต่ละคน
ลักษณะของขุมความรู้ควรมีลักษณะดังนี้
1) เป็นประโยคที่ขึ้นด้วยค ากริยา
2) เป็นวิธีการปฏิบัติ ( How to )
3) เป็นประโยคหรือข้อความที่สื่อความเข้าใจได้โดยทั่วไป
2. แก่นความรู้ แก่นความรู้จะมาจากขุมความรู้ที่สกัดได้จากเรื่องเล่า ซึ่งจะมีเป็นจ านวนมาก
และเมื่อวิเคราะห์และพิจารณาอย่างจริงจังจะเห็นว่าขุมความรู้เหล่านั้นสามารถจัดกลุ่มได้ การจัดกลุ่มขุม
ความรู้ประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน แล้วตั้งชื่อให้กับขุมความรู้ใหม่นั้น โดยให้ครอบคลุมขุมความรู้
ทั้งหมดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
ตัวอย่างการเล่าเรื่องจากชุมชนนักปฏิบัติ
โลกใหม่ของเเน็ต
แน็ต เป็นเด็กสาวในหมู่บ้านและเคยอยู่ที่กรุงเทพฯ พ่อแม่เสียชีวิตหมด อยู่กับยาย และยายก็
ได้เสียชีวิตไปแล้ว อยู่กรุงเทพได้ 6 - 7 ป ี ได้กลับมาอยู่ในหมู่บ้าน กลับมาไม่มีใครรู้ว่าแน็ตติดเชื่อ HIV
มาด้วย เมื่อมาอยู่ใหม่ ๆ ทุกคนก็สงสัยท าไมเก็บตัว ไม่ออกไปไหน บางครั้งก็ชอบเหม่อมองไปข้างนอกบ้าน
โดยไม่มีจุดหมาย มีหนุ่ม ๆ แวะเวียนไปหาแน็ตก็ออกไปกับบางคน