Page 28 - Teamwork Model EP.02
P. 28
หากผู้ทำาคลอดไม่มีความชำานาญในการทำาคลอดรกโดยวิธี
Controlled Cord Traction สามารถทำาคลอดรกโดย
1. Modified Crede’s Maneuver
2. Brandt Andrew Maneuver
กลไกก�รลอกตัวของรก (Placenta Separation)
รกลอกตัวได้โดยอาศัยการหดรัดตัว (Contraction) และคลายตัว (Retraction) เป็นระยะๆของกล้ามเนื้อ
มดลูกส่วนบน ภายหลังทารกคลอดออกมา ทำาให้ผนังมดลูกหนาขึ้นและโพรงมดลูกจะมีขนาดเล็กลงมาก ในขณะที่
รกยังมีขนาดเท่าเดิมทำาให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างพื้นที่ของรก และพื้นที่ของผนังมดลูก เป็นผลให้เกิดการดึงรั้ง
และฉีกขาดของหลอดเลือดที่ผนังมดลูกบริเวณที่รกเกาะ เลือดจะไหลซึมอยู่ข้างหลังรก เรียกว่า Retroplacental
bleeding การลอกตัวของรกส่วนใหญ่จะเริ่มต้นตรงกลางรก แต่มีบางรายที่อาจลอกที่ริมล่างของรกก่อนก็ได้การ
ลอกตัวนั้นเกิดที่ชั้น Spongiosa และ Decidua เมื่อมดลูกหดตัวต่อไปเรื่อยๆจะทำาให้รกลอกตัวออกจากผนังมดลูก
และเลื่อนจากมดลูกส่วนบนลงมาที่มดลูกส่วนล่าง และลงมาอยู่ในช่องคลอด น้ำาหนักของรกจะถ่วงให้มีเยื่อหุ้มทารก
ค่อยๆแยกตัวออกจาก Decidua และมีถูกขับตามออกมาจนในที่สุดรกจึงมีการลอกตัวอย่างสมบูรณ์ เมื่อรกลอกตัว
และคลอดออกมาบริเวณผนังมดลูกส่วนที่รกเกาะจะเป็นแผลและมีเลือดออก ร่างกายจะมีกลไกการควบคุมการตก
เลือดจากแผลที่เกิดจากบริเวณที่รกลอกตัวโดยกล้ามเนื้อยังคงมีการหดรัดตัวและคลายตัว เป็นการห้ามเลือดตาม
ธรรมชาติ เพราะการตัวตัวของกล้ามเนื้อมดลูกจะบีบ เส้นเลือดที่แทรกอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อส่วนที่รกลอกตัวให้ตีบ
แคบลงทำาให้เลือดหยุดไหล และอีกกลไกหนึ่ง คือ การแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือดชนิดของการลอกตัวของรก แบ่ง
ออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
28 |
28 | KINDA MGZTEAMWORK MODEL By SIKAO HOSPITAL