Page 21 - การปลูกพืชผักสวนครัว
P. 21
การป้องกันกำจัดศัตรูพริก
ิ
นอกจากการให้น้ำ การใส่ปุ๋ย หรือการกำจัดวัชพืชแล้ว ยังมีศัตรูพริกต่างๆ ที่มีอทธิพลต่อการปลูกพริกเป็นอย่าง
มาก ศัตรูพริกที่สำคัญที่พบได้โดยทั่วไปมีดังนี้
แปลงปักหลัก
1.เพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวแคบยาว มีความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง
ี
่
ขอบปีกมีขนเป็นแผง มักพบอยู่บนใบและยอดออน อกทั้งพบบริเวณฐานดอกและขั้วผลออน ขณะหากินไม่ชอบ
่
เคลื่อนย้ายตัว เมื่อมีการกระทบกระเทือนจะเคลื่อนไหวรวดเร็ว มีการขยายพันธุ์ทั้งแบบผสมพันธุ์และไม่ต้องผสม
พันธุ์ ตัวเมียมีอายุประมาณ 15 วัน และเมื่อได้รับการผสมจะออกไข่ได้ประมาณ 40 ฟอง ตัวเมียที่ไม่ผสมพันธุ์ออก
ไข่ได้ประมาณ 30 ฟอง วงจรชีวิตจากไข่ถงตัวเต็มวัยประมาณ 15 วัน ระยะไข่ 4-7 วัน ตัวอ่อนวัยที่ 1 มีชีวิต 2 วัน
ึ
วัยที่ 2 มีชีวิต 4 วัน วัยที่ 3 ใช้เวลาฟักตัว 3 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัยสมบูรณ์ เพลี้ยไฟจะระบาดมากในฤดูแล้ง หรือ
เมื่อมีฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน โดยจะทำลายใบอ่อนและตาดอก ลักษณะการทำลาย ใบจะห่อปิด ขอบใบม้วน
ขึ้นข้างบน ทำให้ลำต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ทำลายผลพริกให้หงิกงอ ไม่ได้คุณภาพ สำหรับการป้องกันกำจัด
เพลี้ยไฟชอบหลบอยู่ตามใต้ใบ ตามซอกยอดออนในดอก เวลาพ่นยาควรใช้เครื่องมือที่สามารถพ่นได้อย่างทั่วถึง
่
การเลือกยาที่เหมาะสมควรทำดังนี้ คือ ถ้าปลูกพริกในแหล่งที่มีการระบาดมานาน ควรเลือกใช้ยาที่ทำลายได้
เฉพาะ เช่น อิมิดาคลอพริดแลนเนท เป็นต้น หรือใช้ระบบให้น้ำแบบสปริงเกลอร์
2.แมลงวันพริก เป็นแมลงศัตรูพริกที่มีความสำคัญมากถ้ามีการระบาดสามารถ ทำลายผลผลิตให้เกิดความเสียหาย
ได้มากถึง 60–100 เปอร์เซ็นต์ เพศเมียวางไข่ที่ผลพริกเมื่อไข่ฟักออกมาจะทำให้ผลพริกเน่าเสียและร่วงหล่น การ
ป้องกันกำจัด เก็บผลพริกที่ร่วงหล่นทำลายโดยการแช่น้ำไว้ 1-2 คืน แล้วนำไปทำปุ๋ยหมัก ใช้เชื้อรา เมทาไรเซียม
พ่นเป็นประจำ แต่ถ้าจำเป็นจึงควรใช้สารเคมี เช่น อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) ผสมน้ำพ่นในแปลงพริกช่วง
พริกติดผล
่
3.เพลี้ยออนพริก เป็นแมลงปากดูดชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยปิโตรเลียมออย หรือ
สารสกัดจากเมล็ดน้อยหน่าที่ทุบแตกแล้ว 40 กรัม/น้ำ 1 ลิตร
4.แมลงหวี่ขาวพริก เป็นแมลงปากแทงดูด เป็นพาหะนำโรคไวรัสมาสู่ต้นพืช ควรรีบป้องกันกำจัดเช่นเดียวกับเพลี้ย
อ่อน คือ พ่นด้วยปิโตรเลียมออย หรือสารสกัดจากต้นยาสูบ, หางไหล
5.ไรขาว พบว่ามีการระบาดในช่วงฤดูที่มีการปลูกพริกกันมาก ไรขาวจะเข้าทำลายที่ยอดก่อน เมื่อเป็นหลายๆ ยอด
่
จะดูเป็นพมใบ พริกจะหงิกงอ ใบอ่อนหยาบย่น หรือเป็นคลื่นขอบใบม้วนลงทางด้านล่าง ใบจะคอยๆ ร่วง และยอด
ุ่
จะตายไปในที่สุด
การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจดูแปลงพริกเสมอๆ เมื่อพบไรขาวในปริมาณมากให้รีบกำจัดด้วยสารเคมี เคล
เทน หรือไดโฟคอล และเลบโตฟอส หรือฟอสเวล เป็นต้น แต่ถ้าตรวจพบว่ามีการระบาดของเพลี้ยไฟและไรขาว