Page 36 - BookYana_forebook
P. 36
พระราชพิธีรับเเละสมโภชขึ้นระวางช้าง
การเฉลิมพระนามาภิไธยพระเจ้าแผ่นดินแต่ครั้งโบราณว่า “พระเจ้าช้างเผือก” เพราะทรงได้ช้างเผือก
หลายเชือกในรัชกาลนั้น มาจากความเชื่อที่ว่า “ช้างเผือก” เป็นพระราชพาหนะคู่พระบารมี เชิดชูพระ
เกียรติยศและพระบรมเดชานุภาพ การได้ช้างเผือกจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีพระราชพิธี
สมโภชขึ้นระวางช้างส าคัญเป็นแบบแผนธรรมเนียมสืบเนื่องมา
เนื่องจากช้างเผือกเป็นของหายาก เป็นสิริมงคลส าหรับบ้านเมือง ในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พุทธศักราช 2464 ก าหนดประเภทของช้างที่มีลักษณะ
พิเศษตามต าราไว้ 3 ประเภทเรียกว่า “ช้างส าคัญ” “ช้างสีประหลาด” และ “ช้างเนียม” คือ “ช้าง
ส าคัญ” มีมงคลลักษณะครบ 7 ประการ ได้แก่ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาว หรือสีคล้าย
หม้อใหม่ ขนหางขาว อัณฑโกศขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่ หากมีมงคลลักษณะเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งใน 7
อย่างนี้ เรียกว่า “ช้างสีประหลาด” ส่วน “ช้างเนียม” มีลักษณะแตกต่างออกไปคือ พื้นหนังสีด า งาดังรูปปลี
กล้วยเล็บด า
พระราชบัญญัติ รักษาช้างป่าฉบับนี้ ยังก าหนดสิ่งซึ่งเป็นจารีตประเพณีโบราณไว้ด้วยว่า ผู้ใดมีช้าง
ลักษณะพิเศษทั้ง 3 ประเภท จึงต้องแจ้งเจ้าหน้าที่น าความกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ หลังจากผู้เชี่ยวชาญ
ตรวจดูลักษณะช้างตามต าราคชลักษณ์ว่าเป็นช้างเผือกชั้นใดชัดเจนแล้ว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด
กระหม่อมให้จัดพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างส าคัญตามล าดับขั้นตอน คือ ก่อนประกอบพระราชพิธี พระ
หมอเฒ่า หรือผู้ช านาญการดูแลช้าง สอนท าพิธีจับเชิง เพื่อให้ควาญไปฝึกสอนช้างให้รู้จักหมอบ
18-35