Page 44 - BookYana_forebook
P. 44
กรงนก
ชุมชนป้อมมหากาฬ เป็นพื้นที่ที่มีความส าคัญทางประวัติศาสตร์ชานก าแพงพระนครมาตั้งแต่แรก
สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้คนชุมชนเข้ามาอาศัยตั้งถิ่นฐานนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 มีความต่อเนื่องของการ
ด าเนินชีวิตของผู้คนและชุมชนมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ภายในพื้นที่จึงเต็มไปด้วยวิถีชีวิต วัฒนธรรม
และประวัติศาสตร์ชุมชนที่หลากหลายยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นชุมชนต้นก าเนิดลิเกยุคแรกๆ ของประเทศไทย
ชุมชนท าสายรัดประคด ท าเครื่องดนตรีไทย ปั้นฤาษีดัดตน ท ากรงนก เป็นต้น
กรงนก ชาวปักษ์ใต้นิยมเลี้ยงนก ๒ ชนิด ไว้ประจ าบ้าน คือ นกเขาชวา และนกกรงหัวจุก ทั้งนี้ เพื่อ
เอาไว้ฟังเสียงที่ไพเราะ เพื่อสร้างความสุขใจเพลิดเพลิน เพื่อดูเล่นแก้ร าคาญเป็นงานอดิเรก อีกทั้งเป็นสิ่งที่เชิด
หน้าชูตาในสังคม เพราะมีเพื่อนมากถือเป็นสิริมงคลโชคลาภตามรสนิยมและความเชื่อของท้องถิ่นด้วย ยิ่ง
ปัจจุบันนกมีราคาแพงยิ่งกลายเป็นของล้ าค่ามีราคา โดยเฉพาะนกที่เคยชนะการประกวดซึ่งมีเป็นประจ าเกือบ
ทุกปี โดนเฉพาะที่จังหวัดยะลามีนกต่างประเทศมาร่วมแข่งขันด้วย ส าหรับกรงนกนิยมท าเป็น ๒ แบบ คือ
แบบทรง ๔ เหลี่ยม (ส าหรับนกกรงหัวจุก) กับทรงกลม (ส าหรับนกเขาชวา) ขนาดก้นกว้าง ๑๒ – ๑๔ นิ้ว สูง
๑๖ – ๑๘ นิ้ว ซึ่งลูกกรงท าด้วยไม้ไผ่เหลาให้กลมเล็กอย่างประณีตหัวกรงนกท าจากไม้เนื้ออ่อนทุกชนิดยกเว้น
ไม้ยางพารา มีราคาตั้งแต่ ๑๐๐ – ๑,๐๐๐ บาทขึ้นกับลวดลายความสวยงามของไม้ยิ่งแกะกลึงจากงาช้างยิ่ง
แพง ส่วนหัวตะขอแขวนประดิษฐ์จากโลหะทองเหลืองหรือเงินเป็นรูปหัวสัตว์หิมพานต์ท าเป็นตัวอิเหนาของ
ชวาอย่างสวยงาม ปัจจุบันกรงรูปทรงกลมจะได้รับความนิยมมากกว่า มีการประดิษฐ์ตกแต่งอย่างวิจิตร เช่น
ผ้าคลุมกรงจะใช้สีสันสวยงามราคาแพง ชายผ้าจะมี ๔ มุมยาวแหลมห้อยลงมาเกือบถึงก้นกรง มีลูกตุ้มแก้ว
ระย้าผูกห้อยสะท้อนแสงจับตาน่ามองยิ่งนัก ลางทีมีการแกะสลักลายที่ซี่กรงอย่างสวยงามเรียก “กรงแกะ
ดอก” กรงนกกรงหัวจุกก็จะแกะสลักส่วนฐานและส่วนขอบบนอย่างประณีต
23-43