Page 18 - วรรณกรรมมัธยม
P. 18
ยุคที่สอง เริ่มตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2510 ยกเรือขึ้นบก ขายในเรืออยู่หน้าร้านยังใช้เรือ
ส าปั้นพายอยู่ เรือและอุปกรณ์ยังเหมือนเดิมขายในตลาดรังสิต และริมถนนพหลโยธินตรงบริเวณตลาด
เซียร์รังสิต ตรงสะพาน 3 (เวลานี้สะพานไม่มีแล้ว) ขายจ านวนหลายเจ้าด้วยกันเอาชื่อโกฮับมาโฆษณา
ยุคที่สาม คือยุคปัจจุบันนับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2537 ขายในแพและเรือต่อขนาดใหญ่
(เรือเอี้ยมจุ๊น) จอดลอยล าในคลองรังสิต ทอดสะพานให้คนเดินจากริมคลองเข้าไปในเรือหรือแพมีจ านวน
หลายสิบเจ้าปัจจุบันก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตมีชื่อเสียงจนกลายเป็นค าขวัญของนครรังสิต คือ “อมตะ
ก๋วยเตี๋ยวเรือ งามเหลือดอกบัวบาน ต านานเรือพาย-ท้องถิ่น แดนดินถิ่นคนดี” นายกเทศมนตรีเมืองรังสิต
ขณะนั้นคือ นายกเดชา กลิ่นกุสุม ได้จัดท าเขื่อนตั้งแต่บริเวณตลาดรังสิตไปจนถึงคลองสอง และจัดสถานที่
เป็น ตลาดน้ าเมืองรังสิตขึ้น เพื่อความเป็นระเบียบสวยงาม มีผู้คนอุดหนุนกันเนืองแน่นโดยเฉพาะวันหยุด
เสาร์-อาทิตย์ เป็นอาชีพหลักที่ท ารายได้ให้กับจังหวัดปทุมธานีอีกอาชีพด้วยเล่ามาถึงตอนนี้หลายคนคงเห็น
รูปปั้นประติมากรรมโกฮับ สร้างขึ้นเพื่อสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ของต านานก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตที่ขึ้นชื่อ
และ โด่งดังที่สุดที่ริมเขื่อนเป็นรูปคนขายก๋วยเตี๋ยวแล้วคงเข้าใจแล้วนะ และทุกปีเทศบาลเมืองรังสิตก็จะมี
การประกวดร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ และแข่งขันกินก๋วยเตี๋ยวเรือเป็นประจ าทุกปี นับเป็นการส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวและตลาดน้ ารังสิตนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงบริโภคที่มีชื่อเสียงในรังสิต
วันนี้นับเป็นอีกวันหนึ่งที่พวกเราได้โอกาสออกมาน าเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายให้ไป
สืบค้นมาเกี่ยวกับวัฒนธรรมชีวิตความเป็นอยู่ของชาวรังสิตบ้านเกิดของเรา และยังได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับ
ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต ที่พวกเรากินกันมาตั้งแต่เด็กเพิ่งมาทราบความเป็นมา และรู้สึกภาคภูมิใจกับท้องถิ่น
นครรังสิตของเราทุกคน และสิ่งที่พวกเราได้ภาคภูมิใจมากที่สุดคือเมื่อเทศบาลนครรังสิต จะจัดงานส่งเสริม
วัฒนธรรม และประเพณีใดๆ ก็ตามไม่ว่าจะเป็น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีการ
แข่งขันเรือพาย และการจัดงานเฉลิมฉลองวันส าคัญของชาติและศาสนาที่ทางเทศบาลนครรังสิต จัดขึ้นนั้น
ข้าพเจ้า และเพื่อนได้มีโอกาสเข้าร่วมท ากิจกรรมด้วยดีตลอดมา จะเก็บความทรงจ าดีดีไว้ในชีวิตขอบคุณครู
อาจารย์และหน่วยงานที่ทางเทศบาลจัดขึ้นนับเป็นการสืบสานวัฒนธรรมผ่านรุ่นสู่รุ่นหล่อหลอมจิตใจเราไว้
เป็นหนึ่งเดียว “นครรังสิต”
18