Page 1052 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1052
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนากล้วยไม้สกุลอื่นๆ ที่มีศักยภาพ
3. ชื่อการทดลอง การปรับปรุงพันธ์กล้วยไม้สกุลช้างเพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์
Selection of Rhynchostylis Blume Hybrids
1/
4.คณะผู้ดำเนินงาน ทัศนัย เพิ่มสัตย์ นิศารัตน์ พรมมา 1/
5. บทคัดย่อ
การคัดเลือกพันธุ์กล้วยไม้สกุลช้าง เพื่อใช้สำหรับเป็นพ่อแม่พันธุ์ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ ช้างเผือก
ช้างแดง ช้างกระ ช้างส้ม และช้างพลาย รวมทั้งไอยเรศ เขาแกะ ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย จึงได้ทำการ
รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้สกุลช้างจากแหล่งต่างๆ โดยการนำมาปลูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อม และการดูแลที่
เหมือนกับในโรงเรือน แล้วทำการเก็บข้อมูล ทางพฤกษศาสตร์ การออกดอก เพื่อคัดเลือกให้ได้ต้นกล้วยไม้
สกุลช้างที่มีลักษณะทรงต้น และการออกดอกตามต้องการ จนได้พันธุ์กล้วยไม้สกุลช้างที่คัดเลือกไว้เป็น
พ่อแม่พันธุ์ในการผลิตลูกผสม คือ กล้วยไม้ช้างเผือก รหัส RG 010 และ RG 024 กล้วยไม้ช้างแดง
รหัส RG 012 กล้วยไม้ช้างส้ม รหัส RG 013 กล้วยไม้ช้างพลาย รหัส RG 037.1 กล้วยไม้ช้างกระ
รหัส RG 084
กล้วยไม้เขาแกะ พบว่า มีการเจริญเติบโตทางลำต้น โดยมีขนาดใบกว้างเฉลี่ย 2.33 เซนติเมตร
ความยาวใบเฉลี่ย 28.18 เซนติเมตร ความสูงของลำต้นเฉลี่ย 26.68 เซนติเมตร ความกว้างของทรงพุ่ม
เฉลี่ย 33.13 เซนติเมตร สำหรับการออกดอกของกล้วยไม้เขาแกะจะออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ถึงเมษายน
จากการเก็บข้อมูลการออกดอกของกล้วยไม้เขาแกะ ที่คัดเลือกไว้จำนวน 4 ต้น โดยคัดเลือกเหลือ 1 ต้น
คือ รหัส RC 004 มีการออกดอกที่มีขนาดและคุณภาพตามต้องการ
กล้วยไม้ไอยเรศ พบว่า มีการเจริญเติบโตทางลำต้น โดยมีขนาดใบกว้างเฉลี่ย 2.45 เซนติเมตร
ความยาวเฉลี่ย 35.15 เซนติเมตร ความสูงของลำต้น 10.7 เซนติเมตร และความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ย
40.8 เซนติเมตร สำหรับการออกดอกของกล้วยไม้ไอยเรศ จะออกดอกและบานช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ ถึง
กรกฎาคม จากการเก็บข้อมูล การออกดอกของกล้วยไม้เขาแกะ ที่คัดเลือกไว้จำนวน 6 ต้น ทำการ
คัดเลือกเหลือ 1 ต้น คือ รหัส RR 013 ซึ่งมีการออกดอกที่มีขนาด และคุณภาพตามต้องการ
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ใช้กล้วยไม้สกุลช้างที่คัดเลือกเป็นพ่อแม่พันธุ์ในการผลิตลูกผสมต่อไป
______________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย
985