Page 1066 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1066
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนากล้วยไม้
2. โครงการวิจัย การวิจัยและพัฒนากล้วยไม้สกุลอื่นๆ ที่มีศักยภาพ
3. ชื่อการทดลอง ศึกษาวิธีการทำลายการพักตัวของกล้วยไม้ลิ้นมังกร
1/
4.คณะผู้ดำเนินงาน อำนวย อรรถลังรอง มะนิต สารุณา 2/
ศิรากานต์ ขยันการ 3/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาวิธีการทำลายการพักตัวของกล้วยไม้ลิ้นมังกรด้วยจิบเบอเรลลิก เอซิด (GA) ที่ศูนย์วิจัย
และพัฒนาการเกษตรนครพนม ในปี 2557 วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ จัดสิ่งทดลอง
แบบแฟคทอเรียล มี 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 ได้แก่ ขนาดหัว ใหญ่ (L) กลาง (M) และเล็ก (S) และปัจจัยที่ 2
ได้แก่ ความเข้มข้นของ GA ที่ 0 (น้ำเปล่า), 10 และ 20 ppm พบว่า การกระตุ้นหัวพันธุ์ลิ้นมังกรด้วย
GA และน้ำเปล่า ทำให้หัวพันธุ์งอกใกล้เคียงกัน ระหว่าง 85-95 เปอร์เซ็นต์ หลังกระตุ้น 8 สัปดาห์ และ
ขนาดของหัวพันธุ์ไม่ทำให้การงอกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนในปี 2558 ปรับเปลี่ยนและเพิ่ม
กรรมวิธีเป็น 10 กรรมวิธี ได้แก่ GA ความเข้มข้น 0, 20, 40, 60, 80 และ100 ppm และสารผสม NAA
ได้แก่ NAA 0.04% + Vitamin B1 0.1%, NAA 0.04% + Vitamin B1 0.1% + Fe-EDTA 0.1%, NAA
0.04% + Vitamin B1 0.1% + MS และ B1 Starter (การค้า) ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการ
เกษตรนครพนม และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ พบว่า
สภาพแวดล้อมและอายุการเก็บรักษาของหัวพันธุ์น่าจะทำให้มีความงอกที่แตกต่างกัน การกระตุ้นหัวพันธุ์
ทุกกรรมวิธีสามารถทำให้หัวพันธุ์งอกได้ แต่การกระตุ้นหัวพันธุ์ด้วย GA สารผสม NAA และ B1 Starter
หัวพันธุ์งอกได้เร็วและสม่ำเสมอในระยะแรก แทงช่อดอกเร็ว และมีอายุการบานของดอกนานกว่าน้ำเปล่า
การใช้สารผสม NAA และ B1 Starter อาจได้หน่อที่ไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นต้นได้ ส่วนการกระตุ้น
ด้วย GA ทั้งสองสถานที่ให้ผลค่อนข้างสอดคล้องกัน พบว่า การกระตุ้นหัวพันธุ์ด้วย GA ความเข้มข้น
40 ppm ทำให้หัวพันธุ์งอกเมื่อทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม (8 สัปดาห์) และ
ศูนย์วิจัยพืชวนเชียงราย (4 สัปดาห์) เท่ากับ 55.0 และ 85.6 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ดีกว่าน้ำเปล่าที่งอก
51.7 และ 51.9 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ดีหน่อที่งอกของหัวพันธุ์ลิ้นมังกรเหล่านี้ทั้งสองปีไม่มีการเจริญเติบโต
เป็นต้นที่สมบูรณ์หลังงอก หน่อจะเริ่มเจริญเติบโตเมื่อเข้าสู่ฤดูกาลปกติและมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าหัวพันธุ์
ที่งอกในสภาพธรรมชาติ ทำให้แทงช่อดอกเร็วกว่า 1 - 2 เดือน
___________________________________________
1/ สถาบันวิจัยพืชสวน
2/ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย
3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม
999