Page 1079 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1079
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนากล้วยไม้
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาวัสดุปลูกสำหรับกล้วยไม้
3. ชื่อการทดลอง การวิจัยและพัฒนาเครื่องมือการผลิตวัสดุปลูกทดแทนกาบมะพร้าว
Research and Development Growing Medias Take the Place
of Coir Production Tool
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน บัณฑิต จิตรจำนงค์ สากล วีริยานันท์ 1/
พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์ คุรุวรรณ์ ภามาตย์ 1/
1/
นิวัติ อาระวิล เทียนชัย เหลาลา 1/
1/
อุทัย ธานี 1/
5. บทคัดย่อ
ได้ทำการศึกษาและทดสอบวัสดุปลูกจากสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อนำมาทดแทน
กาบมะพร้าวสำหรับปลูกกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวาย เพื่อแก้ปัญหาราคากาบมะพร้าวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก
พื้นที่ปลูกที่ลดลงซึ่งเกิดจากการระบาดของ หนอนหัวดำ ด้วงงวงและแมลงดำหนาม ส่งผลให้ต้นทุน
การผลิตของเกษตรกรและผู้ประกอบการปลูกกล้วยไม้เพิ่มขึ้น ผลการทดสอบและคัดเลือกวัสดุปลูกทดแทน
พบว่า กระถินและทางปาล์มน้ำมันมีความเหมาะสมที่สุด โดยมีคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และผล
การตอบสนองของต้นกล้วยไม้และการออกดอกของกล้วยไม้ดีที่สุด โดยมีอายุการใช้งาน 5 ปีขึ้นไปขึ้นอยู่กับ
สภาพแวดล้อม เครื่องมือผลิตวัสดุปลูกกล้วยไม้เป็นเครื่องมือใช้ในการผลิตวัสดุปลูกกล้วยไม้ทดแทน
กาบมะพร้าว ขนาดเครื่อง (กว้าง x ยาว x สูง) 50 x 140 x 100 เซนติเมตร ใช้ระบบไฮดรอลิคควบคุม
การทำงานด้วยวาล์วไฟฟ้าแบบกึ่งอัตโนมัติ อัดวัสดุปลูกที่แรงดัน 100 บาร์ (กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร)
ส่วนผสมของวัสดุปลูก กระถินสับย่อย : ปูนซีเมนต์ (1 : 2.5 กิโลกรัม) และทางปาล์มน้ำมันสับย่อย :
ปูนซีเมนต์ (1 : 2.5 กิโลกรัม) ความสามารถของเครื่องในการผลิตก้อนวัสดุปลูกกล้วยไม้ได้ 25 - 30 ก้อน
ต่อชั่วโมง วัสดุปลูกกล้วยไม้ที่อัดแล้วมีขนาด (กว้าง x ยาว x สูง) 22 x 36 x 8 เซนติเมตร ก้อนวัสดุปลูก
1 ก้อน สามารถปลูกกล้วยไม้ได้ 4 ต้น ผลการวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม พบว่าเครื่องมือผลิต
วัสดุปลูกกล้วยไม้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตก้อนวัสดุปลูกกล้วยไม้ 11.18 บาทต่อก้อน เครื่องมือผลิต
ก้อนวัสดุปลูกกล้วยไม้มีจุดคุ้มทุนเมื่อทำการผลิตก้อนวัสดุปลูกกล้วยไม้ 75,336 ก้อนต่อปี ระยะเวลาคืนทุน
ประมาณ 1 ปี ที่ราคาขายก้อนวัสดุปลูกกล้วยไม้ 13 บาทต่อก้อน
____________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี
1012