Page 1118 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1118
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีศักยภาพ
3. ชื่อการทดลอง อิทธิพลความเข้มแสงที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของ
ดีปลี
Effect of Light Intensity on Growth, Yield and Quality of
Long Peper (Piper retrofractum Vahl.)
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ชญานุช ตรีพันธ์ สุมาลี ศรีแก้ว 1/
1/
ศุภลักษณ์ อริยภูชัย สุภาภรณ์ สาชาติ 2/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาอิทธิพลความเข้มแสงที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของดีปลี
ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 5 ซ้ำ ประกอบด้วย
3 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีที่ 1 ไม่พรางแสง กรรมวิธีที่ 2 พรางแสงที่ระดับความเข้มแสง 50 เปอร์เซ็นต์
และกรรมวิธีที่ 3 พรางแสงที่ระดับความเข้มแสง 70 เปอร์เซ็นต์ พบว่าการพรางแสงทำให้การเจริญเติบโต
ด้านลำต้น ปริมาณและคุณภาพของดีปลีเพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่พรางแสง โดยการพรางแสงที่ระดับความ
เข้มแสง 70 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ความสูงต้นเพิ่มขึ้นอย่างมีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95
เปอร์เซ็นต์ เท่ากับ 121.16 เซนติเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น เพิ่มขึ้นมากที่สุด เท่ากับ 0.61
เซนติเมตร การพรางแสงที่ระดับความเข้มแสง 50 ทำให้ดีปลีมีขนาดทรงพุ่ม และขนาดใบมากที่สุด
เท่ากับ 49.8 เซนติเมตร และ 3.89 x 11.28 เซนติเมตร (ความกว้าง x ความยาว) ตามลำดับ ปริมาณ
และคุณภาพผลผลิต พบว่า การพรางแสงที่ระดับความเข้มแสง 50 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณผลผลิตมากที่สุด
อย่างมีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ โดยมีปริมาณน้ำหนักสดรวม ปริมาณ
น้ำหนักแห้งรวม เท่ากับ 2,173.48 และ 668.47 กรัมต่อปี ตามลำดับ และการพรางแสงที่ระดับความเข้มแสง
70 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณสารอัลคาลอยด์พิเพอรินในผลผลิตมากที่สุดอย่างมีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับ
ความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับ ร้อยละ 2.65
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
สามารถนำผลการทดลองที่ได้แนะนำให้แก่เกษตรกรที่ปลูกดีปลี โดยเกษตรกรที่ปลูกดีปลีควรมี
การพรางแสงที่ระดับความเข้มแสง 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ดีปลีมีการเจริญเติบโตและผลผลิตที่ดี
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง
2/ สถาบันวิจัยพืชสวน
1051