Page 1214 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1214

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาพืชผัก
                       2. โครงการวิจัย             เทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศ

                       3. ชื่อการทดลอง             การคัดเลือกพันธุ์มะเขือเทศต้านทานโรคเหี่ยวเขียวและการใช้

                                                   เครื่องหมายโมเลกุลเพื่อคัดเลือกพันธุ์ต้านทาน
                                                   Screening for Bacterial Wilt Resistance in Tomato and Using

                                                   Molecular Markers Linked to Disease Resistance

                                                              1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          รัชนี  ศิริยาน               ศุจิรัตน์  สงวนรังศิริกุล 2/
                                                   อรรถพล  รุกขพันธ์            ณัฏฐิมา  โฆษิตเจริญกุล 3/
                                                                   1/
                                                   จิรภา  ออสติน                เสาวนี  เขตสกุล 1/
                                                                1/
                       5. บทคัดย่อ
                              โรคเหี่ยวเขียวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นโรคที่สำคัญต่อการปลูกมะเขือเทศ การป้องกันที่ใช้กัน

                       อย่างแพร่หลาย คือ การใช้พันธุ์ต้านทานโรค การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกมะเขือเทศที่มี
                       ลักษณะดีทางการเกษตร มีสารเบต้าแคโรทีนและไลโคปีนสูง คัดเลือกให้มีลักษณะต้านทานโรคเหี่ยวเขียว

                       โดยการปลูกเชื้อโรคเหี่ยวเขียวให้แก่มะเขือเทศสายพันธุ์คัดเลือกจำนวน 42 สายพันธุ์ ตรวจสอบการ
                       ตอบสนองต่อเชื้อโรคหลังปลูกเชื้อเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า มะเขือเทศมีการตอบสนอง

                       ต่อเชื้อโรคเหี่ยวเขียว โดยทุกสายพันธุ์อ่อนแอต่อเชื้อโรคเหี่ยวเขียวโดยแสดงอาการเหี่ยวตั้งแต่ 73 - 100

                       เปอร์เซ็นต์ คัดเลือกต้นที่ไม่แสดงอาการเหี่ยวคลุมดอกและเก็บเมล็ดผสมตัวเองรุ่นที่ 1 (S1) นำมาทดสอบ
                       ความต้านทานต่อโรคเหี่ยวเขียวอีกครั้ง พบว่ามะเขือเทศมีความต้านทานเพิ่มขึ้น โดยมีความต้านทาน

                       ปานกลางในระดับเดียวกับพันธุ์ H7996 ซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทานเปรียบเทียบ หลังจากนั้นเก็บใบอ่อนจาก

                       มะเขือเทศต้นต้านทานมาสกัดดีเอ็นเอจำนวน 20 ต้น และเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอด้วยเครื่อง PCR โดยใช้
                       เครื่องหมายโมเลกุล SCAR จำนวน 2 เครื่องหมาย สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอมะเขือเทศต้นต้านทานได้

                       1 เครื่องหมาย โดยปรากฎแถบดีเอ็นเอขนาด 200 คู่เบส จำนวน 13 ต้น ซึ่งมะเขือเทศต้านทานเหล่านี้

                       จะได้นำมาใช้ในการพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศต้านทานโรคเหี่ยวเขียวในอนาคต

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                              การทดลองนี้สามารถคัดเลือกได้ต้นมะเขือเทศที่มีความต้านทานโรคเหี่ยวเขียว ซึ่งมะเขือเทศเหล่านี้
                       สามารถนำไปพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศที่ต้านทานโรคเหี่ยวเขียวได้ในอนาคต







                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ
                       2/ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น

                       3/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
                                                          1147
   1209   1210   1211   1212   1213   1214   1215   1216   1217   1218   1219