Page 1288 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1288

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          -
                       2. โครงการวิจัย             การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหอมแดงคุณภาพในภาคเหนือตอนล่าง

                                                   และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

                       3. ชื่อการทดลอง             การทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูหอมแดงในพื้นที่จังหวัด
                                                   ยโสธร

                                                   Testing Technology Shallots Pest in Yasothon Provice

                                                                 1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          นิรมล  ดำพะธิก               สุรศักดิ์  สุขสำราญ 2/
                                                   วสันต์  พุทธใจกา             สมชาย  เชื้อจีน 3/
                                                                  1/
                       5. บทคัดย่อ

                              ปี 2558 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอำนาจเจริญ ได้นำเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรู
                       หอมแดง จากจังหวัดศรีสะเกษไปทดสอบในพื้นที่ พร้อมชี้ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข แล้วคัดเลือก

                       อาสาสมัครเกษตรกรร่วมทำแปลงทดสอบแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเทคโนโลยีการป้องกัน
                       กำจัดศัตรูหอมแดงให้กับเกษตรกร ทดสอบ 2 วิธีการ คือ วิธีเกษตรกร (ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่)

                       และวิธีแนะนำก่อนปลูกหว่านถั่วเขียวอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบเมื่ออายุ 45 วัน และ ใส่ปุ๋ยหมัก
                       อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ + ปุ๋ยเคมีในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้กับดักผีเสื้อหนอน พบว่า วิธีแนะนำ

                       มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการเดิมของเกษตรกร คือ 5,320 และ 4,750 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูงกว่า

                       ร้อยละ 12 ต้นทุนและผลตอบแทน วิธีทดสอบมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าวิธีเกษตรกร ร้อยละ 42.64 คือ
                       19,350 และ 27,600 บาทต่อไร่ ด้านการเกิดโรค พบว่า วิธีแนะนำและวิธีเกษตรกรไม่พบโรคหอมเลื้อย

                       เมื่อไปตรวจในห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อสาเหตุโรคหอมเลื้อย (Cotrichum spp.) การวิเคราะห์สารพิษ

                       ตกค้างในผลผลิต จำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Organophosphate กลุ่ม Organochlorine และกลุ่ม
                       Pyrethriod พบว่า ทั้งวิธีแนะนำและวิธีเกษตรกรไม่พบสารพิษตกค้าง (ND) ในผลผลิต ร้อยละ 100

                       การขยายผลเทคโนโลยี หลังสิ้นสุดการทดลองได้ประเมินความพึงพอใจ และการยอมรับเทคโนโลยี พบว่า

                       เกษตรกรให้ความพึงพอใจและยอมรับเทคโนโลยีการหว่านปอเทืองอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบเมื่อ
                       อายุ 45 วัน ในการปรับปรุงดิน

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                              กลุ่มเกษตรกรปลูกหอมแดง ตำบลฟ้าห่วน อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร นำเทคโนโลยีการหว่าน
                       ปอเทืองไปปรับใช้ในพื้นที่ เป็นเกษตรแปลงใหญ่





                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอำนาจเจริญ
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยโสธร

                       3/ ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ
                                                          1221
   1283   1284   1285   1286   1287   1288   1289   1290   1291   1292   1293